ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตและภาษาเขมร

คำไทยที่มาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร

     ในภาษาไทยมีการใช้คำยืมจากภาษาต่างประเทศจากหลากหลายภาษา หนึ่งในภาษาที่มีอิทธิพลมากที่สุดจะเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาบาลี, สันสกฤต และภาษาเขมร ในบทความนี้จึงจะมาสรุปลักษณะของคำยืมจากแต่ละภาษาว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ตามไปสำรวจพร้อมกันในบทความเลย!

คำยืมคืออะไร

คำยืม คืออะไร?

     คำยืม คือ คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาของตนเอง โดยทุกภาษาล้วนมีการใช้คำยืมทั้งสิ้น 

    คาดว่าสาเหตุการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้ มีดังนี้

  1. ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลากหลายประเทศ ทำให้มีการรับคำจากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้ เช่น ภาษาเขมร 
  2. ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศ จึงได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศมาด้วย เช่น ภาษาโปรตุเกส, ภาษาจีน เป็นต้น
  3. อิทธิพลจากการรับศาสนาต่าง ๆ เข้ามา ทำให้ได้นำคำศัพท์จากศาสนานั้น ๆ มาใช้ด้วย เช่น ภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต เป็นต้น
  4. ความเจริญด้านการศึกษา เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเยอรมัน เป็นต้น
คำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤต

คำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤต

    คำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีการใช้แพร่หลายในภาษาไทยดังนี้

  1. ใช้ในศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ฮินดู เช่น ธรรม, นิพพาน, ศาสดา, ทุกข์ เป็นต้น
  2. ใช้ในการตั้งชื่อและนามสกุล เช่น ประภัสสร, วรรณพร, อานันท์ เป็นต้น
  3. ช้ในศัพท์วรรณคดี เช่น รามเกียรติ์, รามายณะ เป็นต้น
  4. ใช้ในคำราชาศัพท์และศัพท์สุภาพทั่วไป เช่น พระโอษฐ์, พระบรมราโชวาท, ศีรษะ เป็นต้น
  5. ใช้ในศัพท์ทางวิชาการ เช่น ประชามติ, เอกภาพ, ปัจเจก เป็นต้น
คำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤต 2

    ข้อสังเกตคำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีดังนี้

คำภาษาบาลี

คำภาษาสันสกฤต

ไม่ใช้พยัญชนะ “ศ” และ “ษ”

ใช้พยัญชนะ “ศ” และ “ษ” เช่น ปักษา, ปักษี, ศาสนา, อักษร

ไม่ใช้ “รร” แต่นิยมใช้ “ริ” เช่น จริยา, ภริยา, กริยา

ใช้ “รร” เช่น จรรยา, ภรรยา, บรรพต, ครรภ์

นิยมใช้พยัญชนะ 2 ตัวติดกัน เช่น บุคคล, ปัญญา, วิญญาณ

ใช้คำที่พยัญชนะข้ามวรรค ไม่ติดกัน เช่น จันทรา, มนตรี, วิทยา, มัธยม

ไม่ใช้ “ฤ” “ฤๅ”

ใช้ตัว “ฤ” “ฤๅ” เช่น ฤๅษี, ฤทัย, กฤษณา, คฤหาสน์

คำยืมจากภาษาเขมร

คำยืมจากภาษาเขมร

    คำยืมจากภาษาเขมร มีการใช้แพร่หลายในภาษาไทยดังนี้

  1. ใช้ในคำราชาศัพท์ เช่น เสวย, ถวาย, โปรด, เสด็จ, ดำเนิน, ประชวร, บรรทม, เพลา เป็นต้น
  2. ใช้ในคำสามัญทั่วไป เช่น กระบือ, กระบาล, โตนด, จมูก, เสนียด, ถนน, จังหวัด, ตำบล เป็นต้น
  3. คำเขมรที่เป็นคำโดดคล้ายกับคำไทย เช่น แข = ดวงจันทร์, เมิล = มอง, ศก = ผม เป็นต้น
คำยืมจากภาษาเขมร 2

ข้อสังเกตคำยืมจากภาษาเขมร มีดังนี้

  1. มักเป็นคำที่สะกดด้วยพยัญชนะ “จ”, “ญ”, “ร”, “ล” เช่น เสด็จ, อำนาจ, บำเพ็ญ, จราจร, บันดาล
  2. มักเป็นคำควบกล้ำ เช่น ปรับ, ขลัง, ไกร, ปรุง, ปรอง 
  3. มักขึ้นต้นด้วยคำที่ใช้ บัง, บัน, บรร, บำ นำหน้า เช่น บังคับ, บังคม, บันได, บันดาล, บำบัด, บำเหน็จ
  4. มักขึ้นต้นด้วยคำว่า กำ, ดำ, ตำ, จำ, ชำ, สำ, บำ, รำ เช่น
    • กำ = กำแพง, กำไร, กำจัด, กำจร, กำเนิด
    • ดำ = ดำเนิน, ดำริ, ดำรง
    • ตำ = ตำนาน, ตำรวจ, ตำบล, ตำรา, ตำหนัก
    • จำ = จำนำ, จำนอง, จำหน่าย, จำแนก
    • ชำ = ชำนิ, ชำนาญ, ชำระ, ชำร่วย, ชำรุด
    • สำ = สำราญ, สำรวย, สำเริง, สำเนา, สำเภา
    • บำ = บำเรอ, บำนาญ, บำเหน็จ, บำรุง
    • รำ = รำคาญ, รำไร
  5. มักเป็นคำที่ใช้อักษรนำ เช่น สนุก, สนาน, สมัคร, สมาน, เฉลียว
  6. มักใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น ผนวช, เสด็จ, บรรทม, สรวล, โปรด
  7. เป็นคำแผลง เช่น ครบ > คำรบ, ขดาน > กระดาน, รำ > ระบำ, ตรวจ > ตำรวจ

 

    หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเรื่องคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตและภาษาเขมร” มากขึ้นนะ

    ส่วนใครที่กำลังมองหาที่ติวภาษาไทย หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ


   บทความต่อไป TUTOR VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

 

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

 

สนใจเรียนพิเศษภาษาไทยตัวต่อตัว ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
 
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/
 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save