สวัสดีทุกคนอีกไม่กี่เดือนก็จะสอบ TGAT, TPAT แล้ว พร้อมกันหรือยังเอ่ย? สำหรับน้องๆ DEK66 หรือน้องที่กำลังเตรียมตัวเข้าคณะวิทยาศาสตร์ วันนี้ Tutor VIP จะมาแนะนำคณะวิทยาศาสตร์ให้ทุกคนรู้จักคณะนี้ดียิ่งขึ้น ตามไปดูกันเลย!
เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ
คณะวิทยาศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?
คณะวิทยาศาสตร์จะเรียนทั้งหมด 4 ปี โดยจะเรียนเกี่ยวกับฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, แคลคูลัส เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพในการขับเคลื่อนนวัตกรรมให้ประเทศต่อไป
- ปี 1 จะเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัย และเรียนวิชาพื้นฐานของคณะ เช่น ฟิสิกส์, ชีววิทยา, เคมี, คณิตศาสตร์ เป็นต้น
- ปี 2 จะเริ่มเรียนวิชาพื้นฐานของสาขาที่เลือก เช่น เคมีเชิงฟิสิกส์, โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
- ปี 3 จะเรียนในเนื้อหาเฉพาะของสาขาที่ลงลึกขึ้น เช่น สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ, หลักการสเปกโทรสโกปี, ทฤษฎีพื้นฐานทางปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น
- ปี 4 จะเรียนเชิงปฏิบัติมากขึ้น บางหลักสูตรอาจมีให้ฝึกงาน วิชาที่เรียน เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์, เคมีอุตสาหกรรม, การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เป็นต้น
มีสาขาอะไรบ้าง?
คณะวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็นสาขา ดังนี้ (ชื่อสาขาอาจแตกต่างกันตามหลักสูตรของแต่ละสถาบันการศึกษา)
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ หาเหตุผล และแก้ปัญหาโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
- สาขาวิชาเคมี เรียนเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ และทำความเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
- สาขาวิชาฟิสิกส์ เรียนเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ และทำความเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติตั้งแต่สิ่งที่เล็กระดับอะตอม ไปจนถึงระดับเอกภพ เป็นต้น
- สาขาวิชาชีววิทยา เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เช่นเซลล์ ยีน การศึกษาการทำงานของโครงสร้างต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะจนถึงระดับร่างกาย เป็นต้น
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เรียนเกี่ยวกับ การนำความรู้ทางฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยามาประยุกต์เพื่อให้เข้าใจ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เรียนเกี่ยวกับ ทฤษฎีการคำนวณของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งด้าน ซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์ และเครือข่าย เป็นต้น
- สาขาวิชาสถิติ เรียนเกี่ยวกับ การนำความรู้ทางสถิติไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น สถิติธุรกิจ, การประกันภัย, ประชากรศาสตร์ เป็นต้น
- สาขาวิชาจุลชีววิทยา เรียนเกี่ยวกับ แบคทีเรีย, ไวรัส, ระบบภูมิคุ้มกัน สามารถนำไปประยุกต์ในอุตสาหกรรมอาหาร, สาธารณสุข และด้านการเกษตร เป็นต้น
- สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับ การนำความรู้ทางฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยามาศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุและกระบวนการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับอะตอม ไปจนถึงการผลิตเพื่อการใช้งาน เป็นต้น
- สาขาวิชาชีวเคมี เรียนเกี่ยวกับ สารชีวโมเลกุลในสิ่งมีชีวิต, โครงสร้าง, กระบวนการ เปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารชีวโมเลกุลและการควบคุมปฏิกิริยา เป็นต้น
ทั้งนี้สาขาและวิชาที่มีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย หากน้อง ๆ ต้องการทราบข้อมูลของสถาบันที่ต้องการ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บของสถาบันนั้น ๆ ได้เลย
จบไปทำงานอะไร?
อาชีพหลังเรียนจบคณะวิทยาศาสตร์จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสาขาที่เรียน อาทิ
- นักวิทยาศาสตร์ด้านเคมี, อาหาร, เครื่องสำอาง เป็นต้น
- นักวิจัย
- นักวิชาการ
- ครู/อาจารย์
- ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
- ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
- นักนิติวิทยาศาสตร์
- นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
และอาชีพอื่น ๆ ในองค์กรรัฐ และเอกชนอีกมากมาย
ใช้คะแนนอะไรบ้าง?
สำหรับ Dek66 ในรอบที่ 3 Admission คะแนนหลัก ๆ ที่ต้องใช้จะมี ดังนี้
- TGAT, TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
- A-Level คณิตศาสตร์1 (ประยุกต์), ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา
สำหรับบางมหาวิทยาลัยอาจจำเป็นต้องใช้คะแนนวิชาอื่น ๆ ด้วย ดูเกณฑ์ของสาขา และม.ที่ต้องการก่อนสมัครสอบน้า
ดูเกณฑ์การรับสมัคร TCAS เพิ่มเติมได้ ที่นี่ สามารถค้นหาเกณฑ์ของคณะ และมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้เลย
*อัปเดตล่าสุด สัดส่วนคะแนนของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์ สำหรับ Dek66 คลิก
ที่ไหนเปิดสอนบ้าง?
ปัจจุบันมีสถาบันทั้งรัฐ และเอกชนทั่วประเทศเปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์ เช่น
- คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดูรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่ คลิก
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ ที่สนใจคณะวิทยาศาสตร์นะ ใครเตรียมสอบอยู่ก็ขอให้ติดตามที่หวังนะ
บทความต่อไป Tutor VIP จะมาแนะนำคณะอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ
ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand
บทความล่าสุด
สังคมและประวัติศาสตร์
สรุปลำดับราชวงศ์ของไทย
ภาษาไทย
สรุปหลักเกณฑ์คำทับศัพท์แบบเข้าใจง่าย
ภาษาไทย
ปูพื้นฐานความรู้ภาษาไทยเรื่อง คำราชาศัพท์