โครโมโซมและสารพันธุกรรม คืออะไร?

โครโมโซมและสารพันธุกรรมคืออะไร

     สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมแต่ละคนถึงมีลักษณะแตกต่างกัน บางคนผมหยิก บางคนผมตรง แล้วมันเกี่ยวข้องกับโครโมโซมและสารพันธุกรรม” ของแต่ละคนอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ! ตามไปดูกันเลย

เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ

โครโมโซมคืออะไร

โครโมโซมคืออะไร?

     “โครโมโซม” (Chromosome) คือ รหัสทางพันธุกรรมซึ่งอยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์ โดยอยู่กันเป็นคู่คล้ายปาท่องโก๋ ทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต 

    โครโมโซมของมนุษย์มีทั้งหมด 46 แท่ง หรือ 23 คู่ ประกอบด้วย

  1. โครโมโซมร่างกาย มี 22 คู่ ซึ่งมีเหมือนกันในเพศชายและหญิงเรียกว่า “ออโตโซม” (Autosome) ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของร่างกาย ยกเว้นลักษณะที่เกี่ยวกับเพศ
  2. โครโมโซมเพศ มี 1 คู่ คือ “XX” หมายถึงเพศหญิง และ “XY” หมายถึงเพศชาย ทำหน้าที่กำหนดลักษณธทางเพศ
ยีนคืออะไร

ยีน คืออะไร?

     ยีน (Gene) คือ หน่วยพันธุกรรมที่ปรากฏอยู่บนโครโมโซมแต่ละคู่ ประกอบด้วยดีเอ็นเอ (DNA) ทำหน้าที่ควบคุมการสร้าง การทำงานของเซลล์ และเป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมในแต่ละคนให้แตกต่างกัน โดยลักษณะทางพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ผ่านเซลล์สืบพันธุ์ ในมนุษย์จะมียีนอยู่ประมาณ 50,000 ยีน แบ่งลักษณะของยีนออกเป็น ดังนี้

  1. แอลลีน (Allele) คือ ยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกันแต่งต่างรูปแบบกัน เช่น ลักษณะของติ่งหูจะมียีนควบคุมอยู่ 2 แอลลีนหรือ 2 แบบ คือ แอลลีนที่ควบคุมการมีติ่งหู และแอลลีนที่ควบคุมการไม่มีติ่งหู เป็นต้น 
  2. จีโนไทป์ (Genotype) คือ ลักษณะการจับคู่ของแอลลีนของยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ลักษณะพันธุ์แท้ และลักษณะพันธุ์ทาง
  3. ฟีโนไทบ์ (Phenotype) คือ ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏออกมาให้เห็น เช่น สีผิว, ความสูง, ชั้นตา, สีผม เป็นต้น
ลักษณะเด่น ลักษณะด้อย

ลักษณะเด่นและลักษณะด้อย คืออะไร?

     จากการทดลองการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเกรกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) บิดาแห่งพันธุศาสตร์ กล่าวว่า  “เมื่อมีแอลลีลที่แตกต่างกัน 2 แอลลีล  แอลลีลหนึ่งจะแสดงลักษณะออกมาได้ดีกว่าอีกแอลลีลหนึ่ง”  กล่าวได้ว่า ลักษณะต่าง ๆ ทางพันธุกรรมที่เกิดจากการจับคู่ของยีนจากพ่อ แม่ และถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกหลาน จะพบการแสดงออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้   

  1. ลักษณะเด่น (Dominant)  คือ ลักษณะที่ปรากฏออกมาในทุก ๆ รุ่นอย่างเด่นชัด ซึ่งเกิดจากการจับคู่ของแอลลีลที่ควบคุมลักษณะเด่นเหมือนกันจับคู่กัน หรืออาจเกิดจากการที่แอลลีลด้อยถูกข่มด้วยแอลลีลเด่นที่จับคู่กัน 
  2. ลักษณะด้อย (Recessive)  คือ ลักษณะแอบแฝงที่ไม่แสดงออกมาให้เห็นเมื่ออยู่คู่กับลักษณะเด่น แต่จะแสดงออกเมื่อมีการเข้าคู่กับลักษณะด้อยเหมือนกัน ซึ่งโอกาสแสดงออกให้เห็นจะมีน้อยกว่าการแสดงออกของลักษณะเด่น

 

    เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าบทความนี้จะคลายข้อสงสัยของหลาย ๆ คนได้นะว่าทำไมแต่ละคนถึงมีลักษณะต่างกัน     

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังมองหาที่เรียนพิเศษ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ


   บทความต่อไป TUTOR VIP จะมีสาระอะไรมาฝากอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

 

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

 

สนใจเรียนพิเศษชีววิทยาตัวต่อตัว ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
 
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/
 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save