“กฎนิวตัน” คืออะไร บทความนี้พี่ TUTOR VIP สรุปเอาไว้หมดแล้ว ตามไปดูกันเล้ย!
เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ
กฎนิวตัน คืออะไร?
“กฎนิวตัน” คือ กฎที่ค้นพบโดยเซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ จากการที่ เซอร์ ไอแซก นิวตันได้ติดใจในปริศนาที่ว่า “แรงอะไรที่ทำให้ผลแอปเปิลตกสู่พื้นดิน” และ “แรงอะไรที่ตรึงดวงจันทร์ไว้กับโลก”
“กฎนิวตัน” ถือเป็นหนึ่งในพื้นฐานที่สำคัญของกลศาสตร์และฟิสิกส์ทั้งหมด ประกอบด้วยกฎทั้งหมด 3 กฎ ได้แก่
- กฎของความเฉื่อย (The Law of Inertia)
- กฎของแรง (The Law of Force)
- กฎของแรงปฏิกิริยา (The Law of Reaction Force)
กฎของความเฉื่อย คืออะไร?
กฎของความเฉื่อย (The Law of Inertia)
นิยาม
“วัตถุที่หยุดนิ่งจะพยายามหยุดนิ่งอยู่กับที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ส่วนวัตถุที่เคลื่อนที่ จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำเช่นกัน”
หรือ “วัตถุจะรักษาสภาพเดิมของการเคลื่อนที่ หากแรงลัพธ์จากภายนอกมีค่าเท่ากับ ศูนย์” F=0 นั่นเอง
สภาพเดิมของการเคลื่อนที่ คือ ถ้าวัตถุหยุดนิ่งก็จะหยุดนิ่งตลอด และถ้าวัตถุเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
ตัวอย่าง
- วัตถุที่หยุดนิ่ง: หนังสือที่วางไว้บนโต๊ะจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หากไม่มีแรงไปกระทำต่อหนังสือที่วางไว้
- วัตถุที่เคลื่อนที่: รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็ว 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าเดิม จนกว่าจะมีแรงไปกระทำ เช่น การเร่งความเร็วหรือการเหยียบเบรก เป็นต้น
กฎของแรง คืออะไร?
กฎของแรง (The Law of Force)
นิยาม
“ความเร่งของวัตถุจะแปรผันตามแรงที่กระทำต่อวัตถุ แต่จะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ”
หรือ “เมื่อมีแรงลัพธ์ที่มีค่าไม่เท่ากับศูนย์มากระทำต่อวัตถุ ( F0 ) จะทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง (a)” ซึ่งความเร่งนี้จะมีค่ามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
- ขนาดของแรงลัพธ์ F (แปรผันตรง)
- มวลของวัตถุ (m) (แปรผกผัน)
ตัวอย่าง
- ถ้าเราผลักวัตถุให้แรงขึ้น ความเร่งของวัตถุก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
- ถ้าเราออกแรงเท่า ๆ กัน ผลักวัตถุสองชนิดซึ่งมีมวลไม่เท่ากัน วัตถุที่มีมวลมากจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งน้อยกว่าวัตถุที่มีมวลน้อย
กฎของแรงปฏิกิริยา
กฎของแรงปฏิกิริยา (The Law of Reaction Force)
นิยาม
“ทุกแรงกิริยาย่อมมีแรงปฏิกิริยาขนาดเท่ากันกระทำในทิศตรงกันข้ามเสมอ”
ตัวอย่าง
- การที่เราใส่รองเท้าโรลเลอร์สเก็ตซึ่งมีล้อเลื่อนแล้วใช้มือดันกำแพง จะทำให้เกิดความเร่งขึ้น แรงที่มือของเราดันกำแพงจะเป็นแรงกิริยา ซึ่งกำแพงจะดันตัวเราออกจากกำแพง ซึ่งเป็นแรงปฏิกิริยา ส่งผลทำให้ตัวเราเคลื่อนที่ถอยหลังออกจากกำแพง ขนาดของแรงที่เรากระทำต่อกำแพง และกำแพงกระทำต่อเรา มีขนาดเท่ากันแต่มีทิศทางตรงกันข้ามกัน
เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเรื่อง “กฎนิวตัน” กันมากขึ้นนะ
ส่วนใครที่กำลังมองหาที่ติวฟิสิกส์ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ
บทความต่อไป TUTOR VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ
ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand
บทความล่าสุด
สังคมและประวัติศาสตร์
สรุปพุทธประวัติแบบกระชับ!
สังคมและประวัติศาสตร์
สรุปรวม “ศาสนาสำคัญของโลก” ที่ต้องรู้!
สังคมและประวัติศาสตร์
รากฐานแห่ง“อารยธรรมอินเดีย” อารยธรรมที่ส่งต่อถึงปัจจุบัน