สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน ในบทความก่อนหน้านี้พี่ได้แนะนำเรื่อง “กฎนิวตัน” ไปแล้ว บทความนี้พี่ TUTOR VIP จะมาสรุปเรื่อง “แรงและกฎการเคลื่อนที่” ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎนิวตันโดยตรง เรื่องนี้จะมีความน่าสนใจอย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลย
แรง คืออะไร?
“แรง” (Force หรือ F) คือ ปริมาณที่กระทำต่อวัตถุแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ หรือทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีทั้งขนาดและทิศทาง มีหน่วยเป็นนิวตัน (N) โดย 1N=1kg.m/s²
แรง เกิดได้ทั้งจากการสัมผัส เช่น การลาก, การเตะ หรือเกิดจากสนามของแรง เช่น สนามแม่เหล็ก, สนามโน้มถ่วง เป็นต้น
ชนิดของแรง เช่น
- แรงปฏิกิริยาที่ผิวสัมผัส คือ แรงที่เกิดจากวัตถุที่มีผิวสัมผัสซึ่งกันและกันทำให้เกิดแรงระหว่างผิวสัมผัสขึ้น โดยทิศทางของแรงจะตั้งฉากกับผิวสัมผัส ขนาดของแรงระหว่างผิวสัมผัสจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการสัมผัสว่ามีแรงกระทำมากน้อยเท่าไร
- แรงเสียดทาน คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่เชิงสัมพัทธ์ของพื้นผิวที่เป็นของแข็ง, ชั้นของเหลว และองค์ประกอบของวัตถุที่ไถลในทิศทางตรงกันข้ามซึ่งกันและกัน
ผลของแรงเมื่อกระทำต่อวัตถุ เช่น
- เปลี่ยนสภาพของวัตถุจากสภาพนิ่งให้กลายเป็นเคลื่อนที่ได้และมีความเร็ว
- เปลี่ยนทิศทาง และอัตราเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
- แรงที่กระทำไปในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ จะทำให้วัตถุมีความเร็วเพิ่มขึ้น ส่วนแรงที่กระทำไปในทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ จะทำให้วัตถุมีความเร็วลดลง
มวล คืออะไร?
“มวล” (Mass หรือ m) คือ คุณสมบัติประจำวัตถุที่พยายามต้านการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมหรือการเคลื่อนที่ของวัตถุ กล่าวคือ
- หากวัตถุหยุดนิ่งมวลจะพยายามรักษาสภาพการหยุดนิ่งต่อไป
- หากวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวมวลก็จะพยายามรักษาสถานะภาพความเร็วคงตัวไว้
โดยเรียกคุณสมบัตินี้ว่าความเฉื่อย (Inertia) มวลเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)
กฎการเคลื่อนที่ คืออะไร?
กฎการเคลื่อนที่หรือกฎนิวตัน คือ กฎที่ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับแรงที่กระทำต่อวัตถุนั้น และการเคลื่อนที่เนื่องจากแรงเหล่านั้น มีทั้งหมด 3 กฎ ดังนี้
- กฎของความเฉื่อย (The Law of Inertia)
วัตถุจะรักษาสภาพเดิมของการเคลื่อนที่ หากแรงลัพธ์จากภายนอกมีค่าเท่ากับ “ศูนย์”
สภาพเดิมของการเคลื่อนที่ คือ ถ้าวัตถุหยุดนิ่งก็จะหยุดนิ่งตลอด และถ้าวัตถุเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
- กฎของแรง (The Law of Force)
เมื่อมีแรงลัพธ์ที่มีค่าไม่เท่ากับศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง (a) ซึ่งความเร่งนี้จะมีค่ามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ขนาดของแรงลัพธ์ (แปรผันตรง) และมวลของวัตถุ (m) (แปรผกผัน)
- กฎของแรงปฏิกิริยา (The Law of Reaction Force)
เมื่อวัตถุถูกแรงที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำ วัตถุจะออกแรงตอบโต้ด้วยแรงขนาดที่เท่ากัน ในทิศทางตรงข้ามและเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน (Action = Reaction)
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเรื่อง “แรงและกฎการเคลื่อนที่” กันมากขึ้นนะ
ส่วนใครที่กำลังมองหาที่ติวฟิสิกส์ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ
บทความต่อไป TUTOR VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ
ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand
บทความล่าสุด
สังคมและประวัติศาสตร์
สรุปพุทธประวัติแบบกระชับ!
สังคมและประวัติศาสตร์
สรุปรวม “ศาสนาสำคัญของโลก” ที่ต้องรู้!
สังคมและประวัติศาสตร์
รากฐานแห่ง“อารยธรรมอินเดีย” อารยธรรมที่ส่งต่อถึงปัจจุบัน