ปูพื้นฐานเซลล์พืชและสัตว์ จุดเริ่มต้นของวิชาชีวะ  !

ปูพื้นฐานเซลล์พืชและสัตว์ จุดเริ่มต้นของวิชาชีวะ

     เซลล์เป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในสิ่งมีชีวิต โดยมีทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ที่มีลักษณะและหน้าที่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจประกอบขึ้นจากเซลล์เพียงหนึ่งเซลล์ จึงทำให้มีขนาดเล็กและมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิดก็อาจประกอบขึ้นจากเซลล์จำนวนมาก โดยมีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกัน 

     และในบทความนี้เราจะชวนทุกคนมาดูส่วนประกอบของเซลล์ทั้งพืชและสัตว์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำเนินต่อไปได้กัน

เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ

ส่วนประกอบของเซลล์พืช

ส่วนประกอบของเซลล์พืช

เซลล์พืช

    “เซลล์พืช” คือหน่วยสำคัญที่ช่วยในกระบวนการทางชีวภาพของพืช ทำหน้าที่สร้างอาหารและรักษาโครงสร้างของพืช ด้วยวิธีการที่เรียกว่า “สังเคราะห์แสง” ซึ่งใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ 

    เซลล์พืชมีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. นิวเคลียส (Nucleus): คือส่วนสำคัญของเซลล์ที่มีการเก็บรวบรวมและควบคุมข้อมูลทางพันธุกรรม
  2. ผนังเซลล์ (Cell Wall): ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ช่วยให้เซลล์มีโครงสร้างแข็งแรง และป้องกันการสูญเสียน้ำประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่และยังประกอบด้วยสารพวกเพกทิน ลิกนิน ฮีมิเซลลูโลส ซูเบอริน ไคทิน และคิวทิน
  3. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane): เป็นชั้นหุ้มเซลล์และควบคุมการเข้าออกของสารอาหารและสารต่าง ๆประกอบด้วยสารประเภทโปรตีนและไขมัน
  4. คลอโรพลาสต์ (Chloroplasts): ทำหน้าที่ในกระบวนการสังเคราะห์แสง โดยมีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ที่ช่วยดูดซับแสง
  5. ไซโทพลาซึม (cytoplasm): เป็นของเหลวคล้ายเจลลี่ซึ่งมีนํ้าโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบ ไซโทพลาซึม เป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ เมแทบอลิซึม (metabolism) เป็นแหล่งที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆที่จะช่วยให้เซลล์ดำรงชีวิตอยู่ได้
  6. ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum): แบ่งออกเป็นแบบผิวเรียบและผิวขรุขระ แบบผิวเรียบจะไม่มีไรโบโซม ขณะที่แบบผิวขรุขระจะมีไรโบโซมเกาะอยู่ โดยไรโบโซม(Ribosome) นี้เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์
  7. แวคิวโอล (Vacuole): เป็นถุงขนาดใหญ่ที่พบในเซลล์พืช มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว ทำหน้าที่เก็บของเหลว น้ำ สารอินทรีย์และอนินทรีย์ เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แทนนิน

  8. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria): มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว กลมรี ทำหน้าที่หายใจระดับเซลล์ (กระบวนการที่น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็น ATP ซึ่งเป็นพลังงานที่เซลล์นำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ)
  9. กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิแอพพาราตัส (Golgi Apparatus): มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน ตัดแต่ง ต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์
ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์

ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์

เซลล์สัตว์

    “เซลล์สัตว์” คือหน่วยสำคัญที่สร้างความหลากหลายให้แก่สัตว์ชนิดต่าง ๆ  มีหน้าที่หลักในการให้กำเนิด, การเจริญเติบโต และการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ เซลล์สัตว์มีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. นิวเคลียส (Nucleus): ควบคุมพันธุกรรมและการทำงานของเซลล์
  2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane): ควบคุมการเข้าออกของสารต่าง ๆ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมภายในเซลล์ยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วย ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid bilayer) โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และคอเลสเตอรอล
  3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm): ส่วนที่อยู่ภายในเยื่อเซลล์ที่มีสารละลายและโครงสร้างเซลล์ต่าง ๆ
  4. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria): เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในกระบวนการผลิตพลังงานทางเคมี
  5. กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิคอมเพล็กซ์ (Golgi Complex): มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน ตัดแต่งหรือต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์
  6. ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum): แบ่งออกเป็นแบบผิวเรียบและผิวขรุขระ แบบผิวเรียบจะไม่มีไรโบโซม ขณะที่แบบผิวขรุขระจะมีไรโบโซมเกาะอยู่ โดยไรโบโซม(Ribosome) นี้เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์
  7. ไรโบโซม (Ribosome): เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์ มี 2 หน่วยย่อย ประกอบด้วยหน่วยใหญ่และหน่วยเล็ก แต่ละหน่วยจะมี Ribosomal RNA (rRNA)
  8. ไลโซโซม (Lysosome): เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว มีลักษณะเป็นถุง ทำหน้าที่ย่อยสลายอนุภาค โมเลกุลสารอาหารภายในเซลล์ ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่เซลล์ และทำลายเซลล์ที่ตายแล้ว

 

ความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

 

    เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ มีส่วนประกอบที่เหมือนกันคือ มีเยื่อหุ้มเซลล์, นิวเคลียส และไซโทพลาซึม ส่วนประกอบที่แตกต่างกันคือ เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลมรี ไม่มีคลอโรพลาสต์, คลอโรฟิลล์ และผนังเซลล์ ส่วน เซลล์พืชมีรูปร่างสี่เหลี่ยม มีคลอโรพลาสต์, คลอโรฟิลล์และผนังเซลล์

    การศึกษาเซลล์ทั้งพืชและสัตว์จะช่วยให้เราเข้าใจถึงความแตกต่างในโครงสร้างและปฏิกิริยาทางชีววิทยาของทั้งสองประเภทของเซลล์ได้มากขึ้น และเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก ๆ ของวิชาชีววิทยา

 

    สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังมองหาที่เรียนพิเศษ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ


   บทความต่อไป TUTOR VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

 

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

 

สนใจเรียนพิเศษชีววิทยาตัวต่อตัว ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
 
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/
 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save