รวมสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์

รวมสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์

     บทความนี้พี่ TUTOR VIP จะมาแนะนำการสอบ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นการสอบที่สำคัญมากสำหรับน้องๆ ที่ต้องการศึกษาต่อในด้านทัศนศิลป์, ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อให้น้องๆ ที่สนใจได้รู้จักข้อสอบ และเตรียมความพร้อมไปด้วยกัน!

โครงสร้างข้อสอบ TPAT2 ?

     TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ คือ ข้อสอบวัดความถนัดที่ใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์, ดนตรี และนาฏศิลป์ โดยข้อสอบแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้

 

  1. TPAT21 ทัศนศิลป์                         50 ข้อ    100 คะแนน
  2. TPAT22 ดนตรี                              50 ข้อ    100 คะแนน
  3. TPAT23 นาฏศิลป์                         50 ข้อ    100 คะแนน

 

           ทั้ง 3 ส่วนมีทั้งหมด 150 ข้อ คะแนนรวม 100 คะแนน (คำนวณจากการเฉลี่ยทั้ง 3 ส่วน)

 

*น้อง ๆ สามารถเลือกสอบเฉพาะในส่วนที่ต้องใช้คะแนนได้


 ซึ่งเปิดให้สอบเพียง 1 ครั้ง เท่านั้น! ดังนั้นยิ่งเตรียมความพร้อมมากเท่าไหร่ยิ่งดี

TPAT21 ทัศนศิลป์ สอบอะไรบ้าง?

    TPAT21 ทัศนศิลป์ แบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยได้ ดังนี้


1. พื้นฐานทางทัศนศิลป์

    มีทั้งหมด 30 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 60 คะแนน ประกอบด้วย

  • หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์
  • การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์งานทัศนศิลป์
  • ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
  • การเห็นคุณค่าและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่องานทัศนศิลป์
  •  

2. ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน      

    มีทั้งหมด 20 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 40 คะแนน ประกอบด้วย

  • การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
  • การนำศิลปะ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน

 

TPAT22 ดนตรี สอบอะไรบ้าง?

     TPAT22 ดนตรี แบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยได้ ดังนี้


1. องค์ประกอบดนตรี

    มีทั้งหมด 25 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 50 คะแนน ประกอบด้วย

  • จังหวะ (Rhythm)
  • ทำนอง (Melody)
  • เสียงประสาน (Harmony)
  • รูปพรรณ (Texture)
  • สีสันของเสียง (Tone Color)
  • ลักษณะของเสียง
  • รูปแบบ (Form)


2. บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี

    มีทั้งหมด 25 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 50 คะแนน ประกอบด้วย

  • ประวัติและวรรณคดีดนตรี
  • เครื่องดนตรีและแหล่งกำเนิดของเสียง
  • ระดับของการฟัง
  • หลักในการปฏิบัติทักษะดนตรี
  • ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคมและการประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิต

 

TPAT23 นาฏศิลป์ สอบอะไรบ้าง?

     TPAT23 นาฏศิลป์ แบ่งเป็น 4 ส่วนย่อยได้ ดังนี้


1. พื้นฐานการใช้ร่างกายทางด้านนาฏศิลป์

    มีทั้งหมด 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 20 คะแนน ประกอบด้วย

  • การเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อปฏิบัตินาฏศิลป์
  • พื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกาย


2. การสื่อสารด้วยท่าทาง

    มีทั้งหมด 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 30 คะแนน ประกอบด้วย

  • อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก เช่น ดีใจ มีความสุข เบิกบาน
  • อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ เช่น เสียใจ เจ็บปวด สิ้นหวัง
  • การสื่อความหมาย
  • การแสดงออกทางสีหน้าแววตา

3. หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์

    มีทั้งหมด 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 30 คะแนน ประกอบด้วย

  • ทิศทาง
  • ระดับ
  • ขนาด
  • การใช้พื้นที่ในการแสดง
  • การเคลื่อนที่และแปรแถว


4. ปฏิภาณไหวพริบสำหรับผู้แสดงนาฏศิลป์

    มีทั้งหมด 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 20 คะแนน ประกอบด้วย

  • การแก้ไขสถานการณ์ก่อนการแสดง
  • การแก้ไขสถานการณ์ระหว่างการแสดง

ข้อสอบทั้ง 3 ส่วนหลักมี 150 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน และมีเวลาทำข้อสอบ 180 นาที

สามารถดูแนวข้อสอบ และทดลองทำข้อสอบเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!

คณะไหนที่ต้องใช้ TPAT2 ?

       น้องๆ สามารถใช้ผลการสอบ TPAT2 ยื่นเข้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้องได้   โดยมีสถาบันที่เข้าร่วม อาทิ

 

  • มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
    • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
    • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสื่อนวัตกรรม
    • หลักสูตรศิลปกรรมศาตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศิลปกรรมศาสตร์
    • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี คณะศิลปกรรมศาสตร์
    • ศป.บ.ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
  • มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศิลปกรรมศาสตร์
    • (การออกแบบ) หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) สาขาวิชานิเทศศิลป์ ภาคปกติ
  • มหาวิทยาลัยบูรพา คณะดนตรีและการแสดง
    • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) สาขาวิชาศิลปะการแสดง เอกศิลปะการละคร ภาคปกติ
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์
    • ศป.บ. ทัศนศิลป์
    • ศป.บ. ศิลปะการแสดง (TPAT20, TPAT23 นาฏศิลป์)
  • มหาวิทยาลัยพะเยา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
    • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี และนาฏศิลป์ (แขนงดนตรี) (TPAT22 ดนตรี)
    • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (TPAT 21 ทัศนศิลป์)
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
    • ศศ.บ. สาขาวิชาดนตรีไทย (TPAT22 ดนตรี)
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะศึกษาศาสตร์
    • ศษ.บ.ศิลปศึกษา (TPAT 21 ทัศนศิลป์)

เป็นต้น


ดูรายชื่อมหาวิทยาลัยและจำนวนที่รับเพิ่มเติมได้ที่ คลิก (ค้นหาด้วยชื่อคณะ ตามด้วยชื่อสถาบันที่อยากเข้าได้เลย)

      หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้น้องๆ รู้จักการสอบ TPAT2 ได้ดีขึ้นนะ 

พี่เป็นกำลังใจให้ทุกคนเสมอ

    สำหรับน้องๆ ที่กำลังมองหาที่ติว หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ Tutor VIP ได้นะ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ:)

 

   บทความต่อไป Tutor VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

 

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

 

สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว ติวสอบ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
 
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save