สวัสดีจ้า วันนี้เราก็กลับมาเจอกันอีกครั้งในหัวข้อ “รวมมิตรวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด และ อักษรนำ คำควบกล้ำ” มาตราตัวสะกด และ อักษรนำ คำควบกล้ำ จะมีคำแบบไหนบ้าง ตามไปดูในบทความนี้กันเลย!
เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ
มาตราตัวสะกดคืออะไร?
มาตราตัวสะกด คือ หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อกำหนดเสียงอ่านของพยัญชนะที่อยู่หลังคำหรือพยางค์ การเรียนรู้มาตราตัวสะกดจะทำให้น้อง ๆ เขียนและอ่านคำได้อย่างถูกต้อง
มาตราตัวสะกดมีทั้งหมด 8 มาตรา ได้แก่ แม่กก, แม่กง, แม่กด, แม่กน, แม่กบ, แม่กม, แม่เกย และแม่เกอว โดยสามารถแบ่งได้เป็นมาตราตัวสะกดตรงมาตรา และมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
ประเภทของมาตราตัวสะกด
- มาตราตัวสะกดตรงมาตรา
มาตราตัวสะกดตรงมาตราหรือตรงแม่ คือ มาตราที่มีพยัญชนะเพียงตัวเดียวเป็นตัวสะกด โดยมีอยู่ 4 มีมาตรา ได้แก่ แม่กง แม่กม แม่เกย และแม่เกอว
-
- แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น หาง, ปลิง, สอง, งง, แรง เป็นต้น
- แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลม, แต้ม, โสม, มุม, งอม, สนาม เป็นต้น
- แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สาย, ลอย, โปรย, เฉย, ปุ๋ย เป็นต้น
- แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ว, กาว, เปรี้ยว, เปลว เป็นต้น
- มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราหรือไม่ตรงแม่ คือ มาตราที่มีพยัญชนะหลายตัวเป็นตัวสะกด ซึ่งต่างก็ออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน โดยมีอยู่ 4 มาตรา ได้แก่ แม่กก แม่กด แม่กน และแม่กบ
-
- แม่กก มีตัวสะกด ก, ข, ค, ฆ
- ตัวอย่างคำแม่กก ตรงมาตรา เช่น กก, ตก, บก เป็นต้น
- ตัวอย่างคำแม่กก ไม่ตรงมาตรา เช่น เลข, สุนัข, มุข, โรค, เทคนิค เป็นต้น
- แม่กด มีตัวสะกด จ, ช, ซ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ, ส
- ตัวอย่างคำแม่กด ตรงมาตรา เช่น จด, ลด, โดด, พลาด, ขาด, หาด เป็นต้น
- ตัวอย่างคำแม่กด ไม่ตรงมาตรา เช่น กิจ, ตรวจ, ตำรวจ, บวช เป็นต้น
- แม่กน มีตัวสะกด ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ
- ตัวอย่างคำแม่กน ตรงมาตรา เช่น ขน, บน, ถนน, ปฏิทิน เป็นต้น
- ตัวอย่างคำแม่กน ไม่ตรงมาตรา เช่น โบราณ, ทมิฬ, กาฬโรค เป็นต้น
- แม่กบ มีตัวสะกด บ, ป, พ, ฟ, ภ
- ตัวอย่างคำแม่กบ ตรงมาตรา เช่น ชอบ, ตะเกียบ, เรียบ, รอบคอบ, กลับ, ทะเลสาบ เป็นต้น
- ตัวอย่างคำแม่กบ ไม่ตรงมาตรา เช่น ชีพ, ภาพ, อพยพ, เคารพ, ลาภ, โลภ เป็นต้น
- แม่กก มีตัวสะกด ก, ข, ค, ฆ
- มาตราตัวสะกดอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังมี มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา
มาตรา ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นประสมกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เช่น รู, หมู, วัว, ตัว, มือ, ถือ, ปลา เป็นต้น
อักษรนำคืออะไร?
อักษรนำ คือ คำที่มีพยัญชนะต้นสองตัวอยู่ในสระและตัวสะกดเดียวกัน โดยอักษรนำบางคำก็ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะต้นตัวที่สองเพียงตัวเดียวเป็นหนึ่งพยางค์ เช่น หนู, หมาก, อยู่, อยาก เป็นต้น บางคำก็ออกเสียงพยัญชนะต้นทั้งสองตัว เป็น 2 พยางค์ ซึ่งอาจออกเสียงได้หลัก ๆ ดังนี้
- อักษรนำ 2 พยางค์ ออกเสียง 2 พยางค์ พยางค์หน้าเป็น “อะ” ครึ่งเสียง พยางค์หลังออกเสียง “ห นำ” เช่น ตลาด อ่านว่า ตะ-หลาด เป็นต้น
- อักษรนำ 1 พยางค์ อ่านออกเสียงเป็นพยางค์เดียวโดยไม่ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้า นิยมเรียกกันว่า “ห นำ” และ “อ นำ” เช่น หมอ, อย่า, หนา, อยู่ เป็นต้น
อักษรนำมีอะไรบ้าง
- มีตัว “ห” ปรากฏในคำ หรือ ห นำต่ำเดี่ยว
คำที่มี ห นำ พยัญชนะตัวหลังเป็น ง, ญ, น, ม, ย, ร, ล, ว ให้ออกเสียงพยางค์เดียว ใช้เสียงวรรณยุกต์ตามตัว ห
- ไม่มีตัว “ห” ปรากฏในคำ หรือคำที่มีอักษรสูงหรือกลางนำต่ำเดี่ยว
คำที่พยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง และมีพยัญชนะตัวหลังเป็น ง, ญ, น, ม, ย, ร, ล, ว ให้ออกเสียงเป็นอักษรนำ 2 พยางค์ โดยพยางค์หน้าออกเสียง อะ ครึ่งเสียง เช่น ขยะ อ่านว่า ขะ-หยะ
- คำที่มี อ นำ ย
คำที่มี อ นำ ย มีอยู่ 4 คำ ได้แก่ อย่า, อยู่, อย่าง, อยาก
ข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับอักษรนำ
- อักษรนำมีความแตกต่างจากอักษรควบแท้ คำควบกล้ำแท้จะออกเสียงกล้ำกันสนิทเป็นหนึ่งพยางค์ และอักษรควบจะเป็น ร, ล หรือ ว เท่านั้น เช่น สลาย อ่านว่า สะ-หลาย (อักษรนำ)
- อักษรนำมีความแตกต่างจากอักษรควบไม่แท้ คำควบกล้ำไม่แท้จะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรกหรือออกเสียงเป็นอย่างอื่น เช่น จริง อ่านว่า จิง (อักษรควบไม่แท้ ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรก)
คำควบกล้ำคืออะไร?
คำควบกล้ำ คือ พยัญชนะสองตัวที่เขียนเรียงกันและใช้สระเดียวกัน อยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์ เมื่ออ่านออกเสียงจะต้องอ่านควบเป็นพยางค์เดียวกัน โดยเสียงวรรณยุกต์จะผันตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า เช่น กล้า (อักษรควบคือ กล-), ปลอดโปร่ง (อักษรควบคือ ปล- และ ปร-) เป็นต้น
คำควบกล้ำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ คำควบกล้ำแท้ หรือคำควบแท้ และคำควบกล้ำไม่แท้ หรือคำควบไม่แท้ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้คำและการออกเสียง ดังนี้
- คำควบกล้ำแท้ หรือคำควบแท้
ข้อสังเกตง่ายๆ เพื่อพิจารณาว่าคำใดในภาษาไทยเป็นคำควบกล้ำแท้ ให้ดูว่าพยัญชนะ ร, ล, ว ควบกับพยัญชนะต้นตัวหน้า และประสมสระตัวเดียวกันหรือไม่ โดยเมื่ออ่านออกเสียง ก็จะต้องออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวควบพร้อมกัน ดังนี้
- คำควบแท้ที่พยัญชนะต้นควบกับ ร : เช่น กราบ, เกรง, ขรุขระ, ครัว, ครอบครัว, เคร่งครัด เป็นต้น
- คำควบแท้ที่พยัญชนะต้นควบกับ ล : ยกตัวอย่างเช่น โคลงเคลง, เพลิดเพลิน, เพลิง, ปลวก, แปลก เป็นต้น
- คำควบแท้ที่พยัญชนะต้นควบกับ ว : ยกตัวอย่างเช่น กวาด, กว้างขวาง, ขวาน, ขวัญ, ไขว่คว้า เป็นต้น
- คำควบกล้ำไม่แท้ หรือคำควบไม่แท้
ให้สังเกต พยัญชนะ ร ที่เมื่อควบกับพยัญชนะตัวหน้า และประสมสระตัวเดียวกัน แต่เวลาอ่านจะไม่ออกเสียง พยัญชนะ ร โดยจะอ่านเป็นเสียงอื่นแทน ดังนี้
- คำควบไม่แท้ที่มี ซ, ศ, ส, เป็นพยัญชนะตัวหน้า ร : ให้อ่านออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น เช่น จริง (อ่านว่า จิง)
- คำควบไม่แท้ที่มี ท เป็นพยัญชนะตัวหน้า ร : ให้อ่านออกเสียง ทร เป็นเสียง ซ แทน เช่น ทรง (อ่านว่า ซง), ทราย (อ่านว่า ซาย)
พี่ ๆ หวังว่า น้อง ๆ จะได้ประโยชน์จากบทความนี้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอบ และในชีวิตประจำวันให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยเพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยของเราเอาไว้ด้วยนะ
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังมองหาที่เรียนพิเศษ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ
บทความต่อไป TUTOR VIP จะมีสาระอะไรมาฝากอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ
ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand
บทความล่าสุด
สังคมและประวัติศาสตร์
สรุปพุทธประวัติแบบกระชับ!
สังคมและประวัติศาสตร์
สรุปรวม “ศาสนาสำคัญของโลก” ที่ต้องรู้!
สังคมและประวัติศาสตร์
รากฐานแห่ง“อารยธรรมอินเดีย” อารยธรรมที่ส่งต่อถึงปัจจุบัน