สรุปเนื้อหาลุ่มแม่น้ำต้นกำเนิดอารยธรรมโลก

สรุปเนื้อหาลุ่มแม่น้ำต้นกำเนิดอารยธรรมโลก

     สวัสดีจ้า บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปสำรวจ “ลุ่มแม่น้ำต้นกำเนิดอารยธรรมโลก” ว่ามีความน่าสนใจอย่างไร? และจะมีอารยธรรมใดบ้าง? บอกเลยว่าสนุกและได้สาระแน่นอน ตามไปดูในบทความกันเลย!

กำเนิดอารยธรรมของมนุษย์

กำเนิดอารยธรรมของมนุษย์

    ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์จะไม่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง มีที่พักชั่วคราวตามถ้ำต้นไม้ใหญ่เพื่อกันแดดกันฝนและป้องกันสัตว์ร้าย โดยมนุษย์จะอพยพย้ายที่อยู่ตามแหล่งอาหารคือ ฝูงสัตว์ กล่าวคือเมื่อสัตว์อพยพไปตามฤดูกาลต่างๆ มนุษย์ก็อพยพตามไปด้วย 

    ต่อมาในยุคหินเริ่มมีการเพาะปลูก ต้องรอการเก็บเกี่ยวพืชผล ทำให้ต้องอยู่เป็นหลักแหล่งและเริ่มพัฒนาเป็นชุมชน และเริ่มรวมตัวกันหนาแน่นตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ ของโลกซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ จึงเกิดการจัดระเบียบในสังคม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่างขึ้น อันเป็นจุดกำเนิดของอารยธรรมมนุษย์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Civilization” มีความหมายว่า “สภาพที่พ้นจากความป่าเถื่อน” 

    อารยธรรมของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 

  1. อารยธรรมของโลกตะวันออก คือ อารยธรรมจีนและอินเดีย 
  2. อารยธรรมของโลกตะวันตก คือ อารยธรรมในดินแดนแถบตะวันตกของทวีปเอเชีย รวมเอเชียไมเนอร์และทวีปแอฟริกา, อียิปต์, เมโสโปเตเมีย, กรีกและโรมัน

โดยในบทความนี้จะพูดถึง 4 อารยธรรมหลัก คือ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส, อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์, อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห

 

1.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส

1.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส

    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส หรืออารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ  2 สาย คือแม่น้ำไทกริส และแม่น้ำยูเฟรติส ปัจจุบันอยู่ในเขตแดนของประเทศอิรัก แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำที่เกิดจากการละลายของน้ำแข็งบนที่ราบสูงอาร์เมเนียนและไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก

    ดินแดนแห่งนี้ถูกเรียกว่า “เมโสโปเตเมีย” แปลว่า “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” มีอาณาเขตตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียทางตะวันออก ไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก แบ่งดินแดนเป็น 2 ส่วนคือ 

  1. เมโสโปเตเมีย ที่ราบระหว่างแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส
  2. บาบิโลเนีย ที่ราบทางตอนใต้ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส

    บริเวณนี้แหล่งที่มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ และผู้ที่เข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ส่วนมากจะเป็นพวกเร่ร่อนในทะเลทราย ถ้ากลุ่มใดเข้มแข็งก็มีอำนาจปกครองอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ พวกที่อ่อนแอก็จะเร่ร่อนต่อไป หรืออยู่ในอำนาจของผู้ที่แข็งแรงกว่า

 

    การปกครองแต่ละเมืองจึงเป็นแบบนครรัฐ มีอิสระ ชนชาติต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแถบนี้มีหลายเผ่าพันธุ์ โดยกลุ่มชนต่างๆ ที่สร้างสรรค์อารยธรรมและมีหลักฐานปรากฏอยู่ มีดังนี้

  • ชาวสุเมเรียน (Sumerians)

    เป็นชนเผ่าแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณเมโสโปเตเมีย  ซึ่งเชื่อกันว่า ชาวสุเมเรียนได้อพยพมาจากที่ราบสูงอิหร่าน  และได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตอนล่างสุดของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสตรงส่วนที่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย

    ชาวสุเมเรียน เป็นชนกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์ตัวอักษร คือ “คูนิฟอร์ม” หรืออักษรรูปลิ่ม มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นคือเทวสถาน “ซิกกูแรต” และมีมหากาพย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือ “มหากาพย์กิลกาเมซ” 

  • ชาวแอคคัค (Akkad)

    เป็นพวกเร่ร่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณซีเรียและทะเลทรายอาหรับ ได้เข้ามารุกรานยึดครองพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 2,300 ปีก่อน

  • ชาวอมอไรต์ (Amorite)

    เป็นชนเผ่าเซเมติก อพยพจากทะเลทรายอาระเบีย เข้ามายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและสถาปนาจักรวรรดิบาบิโลเนียขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีนครบาบิโลนเป็นศูนย์กลางการปกครอง ซึ่งมีกษัตริย์ที่สำคัญคือพระเจ้าฮัมมูราบี

  • ชาวฮิตไตท์ (Hittite)

    เป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนใต้รัสเซียได้อพยพขยายตัวมาตามแม่น้ำยูเฟรติส และเข้าโจมตีทางเหนือของซีเรียและปล้นสะดมกรุงบาบิโลเนียของพวกอมอไรต์เมื่อประมาณ 1,595 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกอมอไรต์จึงหมดอำนาจลง กล่าวกันว่าพวกฮิตไตท์มีความสามารถในการรบมาก โดยเป็นชนเผ่าแรกที่นำเหล็กมาใช้ในการทำอาวุธ รู้จักใช้รถเทียมม้าทำให้กองทัพเข้มแข็งและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว

  • อัสสิเรียน (Assyrian)

    เป็นชนเผ่านักรบ  มีวินัย  กล้าหาญ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงนิเนเวห์ (Nineveh) ได้สร้างอารยธรรมการสลักภาพนูนต่ำ ด้านการรบและการล่าสัตว์  มีการสร้างวังขนาดใหญ่  และสร้างห้องสมุดแห่งแรกของโลก โดยพระเจ้าแอสซูรบานิปาลที่เมืองนิเนเวห์

  • คาลเดีย (Chaldea)

    เป็นชนเผ่าฮีบรู ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเดรดซาร์(Nebuchadrezzar)  ได้สร้างพระราชวังขนาดใหญ่และสร้างสวนพฤกษชาติ บนพระราชวัง เรียกว่า “สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน” นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่า นอกจากนั้นพวกคาลเดีย  ยังมีความรู้เรื่องการชลประทาน,  ดาราศาสตร์ และคำนวณการโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง




 

2.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์

2.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์

    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ หรืออารยธรรมอียิปต์ คือ อารยธรรมที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่ 5,500 ปีก่อน เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก บริเวณนี้ยังมีทะเลทรายล้อมรอบซึ่งเป็นปราการธรรมชาติป้องกันศัตรูได้อย่างดี ทำให้อารยธรรมนี้มีความเจริญต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนานถึง 2,000 ปี

ความเจริญที่สำคัญในอารยธรรมอียิปต์

  • การก่อสร้างพีระมิด ซึ่งใช้หลักคณิตศาสตร์ในการคำนวณการก่อสร้างซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์, ฟิสิกส์ และสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน
  • การประดิษฐ์อักษรภาพไฮเออโรกลีฟอียิปต์ ใช้ในการจดบนทึกลงบนศิลาในสมัยแรก และต่อมาได้จารึกลงบนกระดาษที่ทำจากต้นปาปิรุส ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่มีทั่วไปบริเวณแม่น้ำไนล์ ซึ่งได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเป็นอักษรภาพที่มีพยางค์และพยัญชนะ ต่อมาได้แบ่งตัวอักษรออกเป็น 2 ประเภท คือ อักษรเฮียราติค (Hieratic) เพื่อใช้ในการติดต่อค้าขาย และ อักษรเดโมติค (Demotic) ใช้ติดต่อสื่อสารทั่วไป
  • การจัดการชลประทาน สำหรับระบายน้ำ และสร้างเขื่อนเพื่อใช้ในการเกษตร
  • ความเจริญด้านคณิตศาสตร์ มีการวางรากฐานวิชาเลขคณิต และเรขาคณิต ค้นพบค่า π (พาย) และรู้วิธีการคำนวณหาปริมาตรของพีระมิด
  • ความเจริญด้านดาราศาสตร์ มีการคิดปฏิทินแบบสุริยคติ 1 ปีมี 12 เดือน 1 ปีมี 365 วัน และ 1 เดือน มี 30 วัน
  • ความเจริญด้านการแพทย์ มีการทำมัมมี่เพื่อเก็บรักษาศพ, การใช้น้ำเกลือในการรักษาแผล เป็นต้น



 

3.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

3.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

    อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ หรืออารยธรรมอินเดีย คือ อารยธรรมที่กำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียโบราณ ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำกว้างใหญ่ที่มีแม่น้ำสินธุและแม่น้ำสาขาเป็นจำนวนมากไหลผ่าน ทำให้ดินแดนนี้มีความอุดมสมบูรณ์ 

    สภาพภูมิประเทศดังกล่าวทำให้ลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมอินเดียโบราณที่เจริญรุ่งเรืองเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช นักโบราณคดี เรียกชื่ออารยธรรมที่ขุดค้นพบตามชื่อเมืองที่เป็นที่ตั้งของซากเมืองโบราณคือ เมืองฮารัปปา นอกจากเมืองฮารัปปาแล้ว นักโบราณคดียังขุดพบซากเมืองโบราณอีกแห่งคือ เมืองโมเฮนโจดาโร การพบซากเมืองโบราณฮารัปปาและเมืองโมเฮนโจดาโร แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่มีอาคารบ้านเรือนก่อด้วยอิฐและดินเผา มีสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และมีป้อมปราการที่เด่นชัด

    ชนเผ่าสำคัญที่สร้างสรรค์อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ 

  1. ดราวิเดียน คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำสินธุราว 4,000 ปีมาแล้ว มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำและจมูกแบน คล้ายกับคนทางตอนใต้ในอินเดียในปัจจุบัน 
  2. อารยัน เป็นพวกที่อพยพเคลื่อนย้ายจากดินแดนเอเชียกลาง ลงมายังตอนใต้กระจายไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ที่อุดมสมบูรณ์และมีภูมิอากาศที่อบอุ่นกว่า พวกอารยันส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำสินธุและขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปหรือจับตัวเป็นทาส พวกอารยันมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว จมูกโด่ง คล้ายกับชาวอินเดียที่อยู่ทางตอนเหนือ พวกอารยันเหล่านี้รับวัฒนธรรมชนพื้นเมือง แล้วนำมาผสมผสานเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ

ความเจริญที่สำคัญในอารยธรรมอินเดีย

1.ด้านสถาปัตยกรรม 

    • ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูปโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
    • ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)
    • สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย

2.ด้านประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปแบบคันธาระ

3.ด้านนาฏศิลป์ เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท



 

4.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห

4.อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห

    อารยธรรมลุ่มแม่ฮวงโห หรืออารยธรรมจีน คือ อารยธรรมที่มีความเก่าแก่กว่า 4,000 ปี กำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห แม่น้ำที่มีความยาวมากเป็นอันดับสองของประเทศจีน มีความยาว 4,640 เมตร

ความเจริญที่สำคัญในอารยธรรมจีน

    แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้

  • อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
  • วัฒนธรรมหยางเชา มีการทำเครื่องปั้นดินเผา และตั้งชุมชนเพื่อทำเกษตรกรรม
  • วัฒนธรรมหลงซาน มีการทำเครื่องใช้สำริด, ขวานหยก และเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดี

ทั้ง 2 วัฒนธรรมถือเป็นรากฐานสำคัญของอารยธรรมจีนในสมัยต่อมา

  • อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์
  1. ราชวงศ์ชาง

    ถือเป็นราชวงศ์แรกที่ปกครองจีน 
    • มีการชลประทาน 
    • มีการใช้เครื่องมือที่ทำจากสำริด เช่น กระถาง 
    • การประดิษฐ์อักษรแบบรูปภาพบนกระดูกสัตว์และบนกระดองเต่าเพื่อทำนาย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของตัวอักษรจีนในปัจจุบัน
    • มีการทำปฏิทินบอกฤดูกาลต่าง ๆ

2.ราชวงศ์โจว (สมัยศักดินา/ฟิวดัล) ถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองจีนยาวนานที่สุด เกิดลัทธิที่สำคัญ คือ 

    • ขงจื้อ  มีแนวความคิดคืออบรมประชาชนให้เชื่อในเรื่องประเพณีอันดีงาม จะทำให้เกิดความสงบสุข เน้นการปลูกฝังคุณธรรม ทัศนะทางความเชื่อ พิธีกรรม และการบูชา เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญู และเกรงกลังอำนาจธรรมชาติ 
    • ลัทธิเต๋า มีคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามวิถีธรรมชาติ ใช้ชีวิตสันโดษ 

3.ราชวงศ์ฉิน (สมัยจักรวรรดิ) มีการนำการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมาใช้ โดยแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล 

    • มีการใช้เงินตราแบบเดียวกัน 
    • การใช้เครื่องชั่งตวงวัดมาตรฐานเดียวกัน 
    • เก็บภาษีที่ดิน 
    • มีการสร้างถนน 
    • มีการสำรวจสำมะโนประชากร 
    • มีประกาศใช้ภาษาเขียนเพื่อสร้างสังคมเป็นหนึ่งเดียว
    • การก่อสร้าง เช่น สุสานจิ๋นซี, กำแพงเมืองจีน
  1. ราชวงศ์ฮั่น
    • มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ (จอหงวน) 
    • มีการติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก ทั้งเส้นทางน้ำ และเส้นทางบก เส้นทางที่สำคัญคือ เส้นทางสายไหม 
    • มีการผลิตกระดาษขึ้น 
    • มีธนบัตร ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงินที่ทำจากโลหะ 
  1. ราชวงศ์สุย เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก 
    • มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม 
  1. ราชวงศ์ถัง เป็นยุคทองของอารยธรรมจีน 
    • พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระถังซำจั๋งเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกในชมพูทวีป 
    • ยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย, หลี่ไป๋ 
  1. ราชวงศ์ซ่ง 
    • มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา 
    • รู้จักการใช้เข็มทิศ และใช้ลูกคิด 
    • ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ 
    • รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม 
  1. ราชวงศ์หยวน เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน 
    • มีชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล 
  1. ราชวงศ์หมิง
    • มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก, ไซอิ๋ว 
    • ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล 
    • สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (พระราชวังต้องห้าม) 
  1. ราชวงศ์ชิง เป็นราชวงศ์ของชาวแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน และเริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง โดยจีนต้องยกฮ่องกงให้อังกฤษเช่า 99 ปี และต้องเปิดเมืองท่าเพื่อการค้าขายอีกด้วย 

 

 

    หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเรื่องลุ่มแม่น้ำต้นกำเนิดอารยธรรมโลก” มากขึ้นนะ

    ส่วนใครที่กำลังมองหาที่ติวตัวต่อตัว หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ

   บทความต่อไป TUTOR VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

 

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

 

สนใจเรียนพิเศษประวัติศาสตร์ตัวต่อตัว ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
 
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/
 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save