เจาะลึก! “อารยธรรมสุเมเรียน” แบบเข้าใจง่าย

เจาะลึกอารยธรรมสุเมเรียนแบบเข้าใจง่าย

     สวัสดีจ้า บทความนี้พี่จะมาสรุปเกี่ยวกับ “อารยธรรมสุเมเรียน” ซึ่งเป็นอารยธรรมที่มีความสำคัญมากในดินแดนเมโสโปเตเมีย อารยธรรมนี้จะมีความน่าสนใจอย่างไร? ตามไปศึกษาพร้อมกันในบทความเลย

อารยธรรมสุเมเรียนคืออะไร

อารยธรรมสุเมเรียน คืออะไร?

    อารยธรรมสุเมเรียน คือ อารยธรรมโบราณที่กำเนิดบริเวณเมโสโปเตเมียตอนใต้โดยชาวสุเมเรียน (Sumerians) เป็นกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส  บริเวณใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย  เมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล และได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองในพื้นที่แห่งนี้

    พื้นที่นี้เรียกว่า “ซูเมอร์” เป็นบริเวณที่ชาวสุเมเรียนรวมตัวกันเกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่จนเกิดเป็น “เมือง” ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดของนครรัฐแรกของโลก นั่นคือ “อูรุก” (Uruk) ศูนย์กลางของอารยธรรม รวมไปถึงนครรัฐอื่น ๆ ที่ปกครองอิสระแยกกัน เช่น ลากาช (Lagash), อูร์ (Ur), นิปปูร์ (Nippur) ที่ส่งอิทธิพลต่ออารยธรรมในสมัยต่อมา

อารยธรรมสุเมเรียนด้านสังคม

อารยธรรมของชาวสุเมเรียน

ด้านสังคม 

    แบ่งคนเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  1. ชนชั้นสูง คือ พระซึ่งเป็นผู้นำด้านศาสนาและการปกครองในช่วงต้น
  2. ชนชั้นกลาง คือ พ่อค้า, ช่างฝีมือ และทหาร เป็นต้น
  3. ชนชั้นล่าง คือ ชาวนา, เกษตรกร

 

อารยธรรมสุเมเรียนด้านอาชีพและศาสนา

ด้านการประกอบอาชีพ

    มีอาชีพที่สำคัญดังนี้

  1. การเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ถือเป็นอาชีพหลัก พืชที่นิยมปลูกได้แก่ ข้าวสาลี, ผัก และผลไม้ ส่วนการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งานและเป็นอาหาร เช่น สุนัข, แกะ, ลา
  2. งานฝีมือ เช่น งานโลหะ งานเส้นใย เป็นต้น ในแต่ละนครรัฐจะมีความเชี่ยวชาญในงานฝีมือแต่ละด้านแตกต่างกันไป
  3. การค้าขาย นิยมทำการค้ากับพื้นที่ใกล้เคียง เช่น อียิปต์โบราณ, ฟินิเชียน และคนในเอเชียไมเนอร์

ด้านศาสนา

   ชาวสุเมเรียนมีความเชื่อเรื่องพระเจ้าหลายพระองค์ เช่น

  • An คือ เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า
  • Ei หรือ Enki คือ เทพเจ้าแห่งปฐพี
  • Enlil คือ เทพเจ้าแห่งอากาศ
  • Abu หรือ Tammuz คือ เทพเจ้าแห่งพืชพันธ์ุ
  • Ashur คือ เทพเจ้าแห่งความกล้าหาญ
  • Ishtar คือ เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์

    ชาวสุเมเรียนไม่มีความเชื่อเรื่องภพหน้าและความเป็นอมตะ แต่มีความเชื่อเรื่องวิญญาณร้าย จึงเกิดการสร้างศาสนสถานเพื่อจัดพิธีบวงสรวงเทพเจ้าที่เรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurat)

อารยธรรมสุเมเรียนด้านการปกครอง

ด้านการปกครอง

    ลักษณะการปกครองในช่วงแรกจะเป็นแบบเทวาธิปไตย ปกครองโดยพระที่เรียกว่า “ปาเตซี” (Patesi) โดยพระจะถือว่าเป็นตัวแทนของพระเจ้าในการปกครอง

    ในสมัยต่อมาเมื่อนักรบมีความแข็งแกร่งขึ้นจึงได้มาทำหน้าที่ปกครองแทนพระ โดยเรียกนักรบที่ปกครองว่า “ลูกัล” (Lugal) แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ในสมัยนี้เริ่มมีการตั้งกฎและบทลงโทษเพื่อใช้ในการปกครองซึ่งถือเป็นรากฐานของกฎหมายในเมโสโปเตเมีย แต่ยังไม่ได้มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน

อารยธรรมสุเมเรียนด้านการเขียนและวรรณกรรม

ด้านการเขียน

    การเขียนของชาวสุเมเรียนเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์กาล ในช่วงที่นครรัฐอูรุกเป็นใหญ่ (3,750 – 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช) โดยอักษรของชาวสุเมเรียนจะมีลักษณะเป็น “อักษรรูปลิ่ม” หรือ คูนิฟอร์ม (Cuneiform) ซึ่งคิดค้นโดยชาวสุเมเรียนโดยไม่ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรอื่นใด ซึ่งถูกจารึกลงบนแผ่นดินเหนียวด้วยไม้หรือเหล็กแหลม

 

ด้านวรรณกรรม

    วรรณกรรมของชาวสุเมเรียนถือว่ามีน้อยเมื่อเทียบกับวรรณกรรมจากอียิปต์โบราณ เนื่องจากการเขียนลงบนแผ่นดินเหนียวค่อนข้างทำได้ยากและเขียนได้สั้น และแผ่นดินเหนียวยังแตกหักได้ง่าย ประกอบกับผู้รู้หนังสือจริง ๆ มีน้อยมากและส่วนใหญ่เป็นพระ ทำให้วรรณกรรมของชาวสุเมเรียนมักมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อ

อารยธรรมสุเมเรียนด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

ด้านสถาปัตยกรรม 

    สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของชาวสุเมเรียน คือ วิหารหรือหอคอยซิกกูแรต (Ziggurat) ซึ่งมีฐานเป็นสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกับพีระมิดของอียิปต์โบราณ โดยซิกกูแรตจะมีความสูงไม่มากเพราะส่วนบนจะไม่ทำเป็นปลายแหลม แต่จะทำแบบราบและสร้างวิหารเทพเจ้าขึ้นแทน ซึ่งจากพื้นดินถึงวิหารเทพเจ้าจะมีการทำทางขึ้นเตรียมไว้ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างจะใช้เป็นดินเหนียวตากแห้งหรืออิฐ

    ซิกกูแรตเป็นสถาปัตยกรรมที่พบเห็นได้เฉพาะที่เมโสโปเตเมียเท่านั้น ในอดีตพระ (ปาเตซี)ใช้ซิกกูแรตเป็นศูนย์กลางในการปกครองและศาสนา โดยซิกกูแรตขนาดใหญ่จะอยู่ที่นครรัฐอูรุก (Uruk) มีฐานกว้าง 246ฟุต และสูง 100 ฟุต

ด้านศิลปกรรม

    ศิลปกรรมของชาวสุเมเรียนส่วนใหญ่จะเป็นรูปปั้นเทพเจ้าในซิกกูแรต นอกจากนี้ยังมีการค้นพบรูปปั้นคนและสัตว์ รวมไปถึงรูปปั้นที่แสดงการต่อสู้ในลักษณะการปั้นนูนเด่นครึ่งตัว (Bas-Relief)

อารยธรรมสุเมเรียนด้านวิทยาศาสตร์

ด้านวิทยาศาสตร์ 

    มีความรุ่งเรืองอย่างมาก เช่น 

  • การทำปฏิทินโดยยึดหลักจันทรคติ 1 ปี มี 360 วัน
  • การนับชั่วโมงโดยสังเกตการเคลื่อนที่ของเงา อันเกิดจากแสงอาทิตย์ 
  • มีการกำหนดสัญลักษณ์เพื่อนับผลผลิตทางการเกษตร รู้จักคำนวณหาพื้นที่เพื่อใช้แบ่งเขตการเพาะปลูกและก่อสร้าง 
  • มีการใช้มาตราชั่งและตวง 
  • สามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งของดาวศุกร์ได้ จากการสังเกตท้องฟ้าเหนือซิกกูแรต 

 

    อารยธรรมสุเมเรียนเจริญรุ่งเรืองมายาวนานและกลายเป็นรากฐานสำคัญที่อารยธรรมอื่นนำไปพัฒนาต่อ จนกระทั่งประมาณ 2,300 ปีก่อนคริสตกาล เมืองต่าง ๆ ของชาวสุเมเรียนได้ถูกพิชิตโดยจักรวรรดิอัคคาเดียนของกษัตริย์ซาร์กอนแห่งอัคคาด (Sargon of Akkad) ทำให้อารยธรรมสุเมเรียนค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง

 

    หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเรื่องอารยธรรมสุเมเรียน” มากขึ้นนะ

    ส่วนใครที่กำลังมองหาที่ติวตัวต่อตัว หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ

   บทความต่อไป TUTOR VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

 

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

 

สนใจเรียนพิเศษประวัติศาสตร์ตัวต่อตัว ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
 
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/
 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save