5 คำแนะนำในการเลือกติวเตอร์ตัวต่อตัว
ทุกคนเคยเป็นกันหรือไม่? ไม่รู้จะเลือกติวเตอร์คนไหนดี ประวัติคนนั้นก็ดี ประสบการณ์สอนของคนนี้ก็เยอะ ผลงานจากนักเรียนก็หลากหลาย ทำเอาตัดสินใจเลือกติวเตอร์ไม่ถูกเลยสักคน
Tutor-VIP เข้าใจดีว่าพี่ๆ น้องๆทุกคนต้องการเลือกติวเตอร์ตัวต่อตัวที่ดี มีความรู้ความสามารถ สามารถสอนเราให้เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนได้เป็นอย่างดี หรือ ต้องการติวเพิ่มคะแนนสอบให้ได้ตามเป้าหมายที่เราต้องการ แต่รู้หรือไม่ว่าองค์ประกอบในการเลือกติวเตอร์ที่เหมาะสมกับตัวเรานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ในบทความนี้เราจะมาให้คำแนะนำในการเลือกติวเตอร์ที่เหมาะสมกับพี่ๆ น้องๆทุกคน ที่ไม่ใช่แค่เรื่องการพิจารณาในด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงรูปแบบหรือสไตล์การสอน ความสามารถในการปรับแผนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน รวมไปถึงบรรยากาศในการเรียนที่ดีอีกด้วย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้พี่ๆ น้องๆทุกคนเลือกติวเตอร์ตัวต่อตัวได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น พร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลย!
1. กำหนดเป้าหมายการเรียนให้ชัดเจน
สิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกเลยก็คือ การกำหนดเป้าหมายการเรียนของตัวผู้เรียนให้ชัดเจนตั้งแต่แรก เพราะการกำหนดเป้าหมายการเรียนหรือเป้าหมายผลลัพธ์ที่ชัดเจนจะช่วยให้เรามองเห็นเป้าหมายที่เราอยากจะเรียนไปเพื่ออะไรได้อย่างตรงประเด็นและส่งผลไปถึงเรื่องของการวางเนื้อหาหรือเส้นทางการเรียนรู้ รวมถึงจะทำให้เราได้สำรวจทักษะของตัวเองที่จำเป็นต้องใช้ในการสอบวิชานั้นๆ ว่าตัวเรามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่าง : ต้องการเตรียมสอบ TOEIC ให้ได้คะแนนมากกว่า 700+ ขึ้นไป เพื่อไปสมัครงานในบริษัทชั้นนำ
สำรวจตัวเอง : ในตอนนี้ทักษะวิชาภาษาอังกฤษในด้าน การฟังและการอ่านของเราเป็นอย่างไรบ้าง? หรือ เราได้เริ่มเตรียมตัวสอบอย่างไรไปบ้างแล้ว
2. ตรวจสอบประสบการณ์และคุณสมบัติของติวเตอร์
เมื่อกำหนดเป้าหมายการเรียนที่ชัดเจนแล้ว และได้เริ่มมองหาติวเตอร์ตัวต่อตัวจากแหล่งต่างๆ เช่น ติวเตอร์ที่แนะนำจากเพื่อนๆ หรือ ผู้ปกครอง, ติวเตอร์จากในกลุ่ม Social Media หรือ เว็บไซต์จัดหาติวเตอร์ตัวต่อตัว เช่น tutor-vip.com
แนะนำเป็นอย่างมากว่า เราควรตรวจสอบประสบการณ์และคุณสมบัติของติวเตอร์ตัวต่อตัวว่ามีความสอดคล้องกับเป้าหมายในการเรียนของเราหรือเปล่า
เป้าหมาย : เตรียมสอบ TOEIC ให้ได้คะแนนมากกว่า 700+ ขึ้นไป
ตัวอย่างติวเตอร์ :
- เลือกติวเตอร์ที่มีประสบการณ์ตรงในการสอนภาษาอังกฤษ หรือ ติวสอบ TOEIC มาก่อน
- เลือกติวเตอร์ที่เคยมีประสบการณ์สอบ TOEIC ได้คะแนนมากกว่า 700+ ขึ้นไป
- ขอดูรีวิวจากผู้เรียนก่อนหน้า ว่าผลงานการสอนของติวเตอร์เป็นอย่างไรบ้าง
3. ติวเตอร์ที่มีสไตล์การสอนเหมาะสมกับเรา
สิ่งที่สำคัญในการเลือกติวเตอร์ตัวต่อตัวอีกอย่างหนึ่งเลยก็คือ รูปแบบหรือสไตล์การสอนของติวเตอร์คนนั้นว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายที่เราต้องการหรือไม่?
ตัวอย่างติวเตอร์ :
- ถ้าผู้เรียนชอบเรียนแบบ Interactive หรือมีปฏิสัมพันธ์ในการสอนรูปแบบต่างๆ ไม่น่าเบื่อ ควรเลือกติวเตอร์ที่มีรูปแบบการสอนแบบเน้นการมีส่วนร่วม มีกิจกรรมเสริมการสอนในรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ
- ถ้าผู้เรียนชอบเรียนแบบเน้นติวสอบ เก็งข้อสอบเก่งๆ เน้นผลลัพธ์ที่ตรงจุด ควรเลือกติวเตอร์ที่มีความเตรียมพร้อมในด้านการติวสอบเก่งๆ มีชีทหรือตัวอย่างแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างข้อสอบที่หลากหลาย มีความเข้มงวดในการสอนได้ในระดับหนึ่ง
4. เลือกติวเตอร์ตัวต่อตัวที่ปรับตารางหรือรูปแบบการสอนให้ตรงกับความต้องการของเรา
ความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตารางเวลาหรือรูปแบบการสอนก็เป็นสิ่งสำคัญในการเลือกติวเตอร์ที่เหมาะสมเช่นกัน เช่น รูปแบบการสอนแบบตัวต่อตัวตามสถานที่, การสอนแบบออนไลน์ตัวต่อตัว หรือ ช่วงเวลาที่สะดวกที่ตรงกันมากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่าง :
- ต้องการเรียนแบบ Hybrid Learning คือเรียนทั้งแบบติวสอบตัวต่อตัวตามสถานที่ (On-site) และ ติวสอบออนไลน์ตัวต่อตัว (Online) ในบางช่วงเวลา
5. พูดคุยกับติวเตอร์ล่วงหน้าเพื่อทำความเข้าใจทั้งสองฝ่าย
สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกเมื่อตัดสินใจเลือกติวเตอร์แล้ว ควรพูดคุยกับตัวเตอร์ให้ชัดเจนก่อนเริ่มทำการเรียนการสอนว่าเป้าหมายที่เราต้องการเป็นอย่างไร ชื่นชอบวิธีการสอนในรูปแบบใด รวมถึงการวางแผนการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียน ซึ่งหากติวเตอร์มีแผนการเรียนที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมั่นใจและเรียนรู้ไปตามเส้นทางจนถึงเป้าหมายที่ต้องการได้
สรุปการเลือกติวเตอร์ตัวต่อตัว
เป็นอย่างไรกันบ้าง? พี่ๆ น้องๆทุกคนพอจะได้แนวทางในการเลือกติวเตอร์ตัวต่อตัวที่เหมาะสมกับตัวเรากันแล้วใช่ไหม? จะเห็นได้ว่าการเลือกติวเตอร์ที่ดีนั้นไม่ใช่แค่การดูประวัติการสอนหรือประสบการณ์สอนเพียงเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของรูปแบบหรือสไตล์การสอนของติวเตอร์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้เรียนไปในทิศทางเดียวกันด้วย เมื่อติวเตอร์และผู้เรียนมีความเข้าใจที่ตรงกันก็จะส่งผลให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการก็จะมีความเป็นไปได้สูงขึ้น
หากทุกคนอยากรู้เพิ่มเติมว่า “คุณสมบัติของติวเตอร์ที่ดี” นั้นมีอะไรบ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกติวเตอร์ตัวต่อตัวของเรามากขึ้น สามารถติดตามได้ในบทความ : 5 คุณสมบัติของติวเตอร์ที่ดี ได้เลย
บทความล่าสุด
ทั่วไป
ติวเตอร์สำหรับเด็ก vs ติวเตอร์สำหรับผู้ใหญ่ แตกต่างกันอย่างไร?
วิทยาศาสตร์
สรุป “วิวัฒนาการของดาวฤกษ์” แบบกระชับ
วิทยาศาสตร์
ไขปริศนา หลุมดำ (Black hole) เกิดจากอะไร?