พ่อขุนรามคำแหงคือใคร? กษัตริย์ผู้ให้กำเนิด ‘อักษรไทย’

พ่อขุนรามคำแหงคือใคร กษัตริย์ผู้ให้กำเนิดอักษรไทย

     สวัสดีทุกคน บทความนี้ พี่ TUTOR VIP จะพาไปศึกษาพระราชประวัติของ “พ่อขุนรามคำแหง” กษัตริย์ผู้ให้กำเนิดอักษรไทยที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง ถ้าพร้อมแล้วตามไปศึกษาพร้อมกันในบทความเลย

พ่อขุนรามคำแหง ประวัติส่วนพระองค์

ประวัติส่วนพระองค์

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์พระร่วง ผู้ครองราชย์ในอาณาจักรสุโขทัยระหว่าปี พ.ศ. 1822 ถึง 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณูปการต่อชาติไทยอย่างยิ่งใหญ่ ทั้งในด้านการปกครอง การทำสงคราม การส่งเสริมพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์อักษรไทย ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมไทยจนถึงปัจจุบัน

    พระนามเต็มของพระองค์คือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระนางเสือง เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา พระองค์ได้ร่วมรบกับพระราชบิดาในยุทธหัตถีกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ซึ่งเป็นกองทัพที่รุกรานสุโขทัย และทรงชนะศึกได้อย่างกล้าหาญ พระราชบิดาจึงพระราชทานพระนามว่า “รามคำแหง” หรือ “พระรามผู้กล้าหาญ”

    หลังจากพระบรมชนกนาถ (พระราชบิดา) และพ่อขุนบานเมือง (พระเชษฐา) สวรรคต พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยในปี พ.ศ. 1822 และทรงปกครองจนถึงปี พ.ศ. 1841 เป็นระยะเวลา 19 ปี

 

พระราชกรณียกิจและผลงานสำคัญ

ด้านการเมืองและการปกครอง

    พ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ระบบการปกครองแบบ “ระบบปิตุราชาธิปไตย” หรือ “พ่อปกครองลูก” คือ ทรงดูแลประชาชนเหมือนลูกของพระองค์ เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็สามารถสั่นกระดิ่งหน้าวังเพื่อถวายฎีกา พระองค์จะเสด็จออกมารับฟังและตัดสินปัญหาด้วยพระองค์เองอย่างเป็นธรรม และยังปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการปกครอง ดังนี้ 

  1. ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง 
  2. ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร 
  3. หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง

    นอกจากนี้พระองค์ยังทรงทำสงครามขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยให้กว้างขวางมากขึ้นจนเป็นที่ยำเกรงของอาณาจักรข้างเคียง โดยในสมัยของพระองค์มีอาณาเขตดังนี้

พ่อขุนรามคำแหง พระราชกรณียกิจสำคัญ ด้านการเมืองการปกครอง 2
  • ทิศตะวันออก ขยายอาณาเขตได้จนข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว 
  • ทิศใต้ ขยายอาณาเขตได้จนถึงนครศรีธรรมราช 
  • ทิศตะวันตก ขยายอาณาเขตได้ถึงเมืองฉอด (คาดว่าอยู่ในประเทศเมียนมา)
  • ทิศเหนือ  ขยายอาณาเขตได้เมืองฉอดถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) ในประเทศลาว
พ่อขุนรามคำแหง พระราชกรณียกิจสำคัญ ด้านศาสนา

ด้านศาสนา

    พ่อขุนรามคำแหงทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาเถรวาทนิกายลังกาวงศ์ให้เป็นศาสนาประจำชาติ โดยได้นิมนต์พระสงฆ์นิกายนี้จากนครศรีธรรมราชที่เดินทางกลับจากลังกามาเผยแผ่พระธรรมคำสอนในสุโขทัย 

    พระองค์ยังทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาบาตรไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองและมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยจนถึงปัจจุบัน

พ่อขุนรามคำแหง พระราชกรณียกิจสำคัญ ด้านวัฒนธรรมและภาษา

ด้านวัฒนธรรมและภาษา

    ในปี พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เรียกว่า “ลายสือไทย” ซึ่งเป็นต้นแบบของอักษรไทยที่ใช้กันในปัจจุบัน 

    พระองค์ทรงจารึกเหตุการณ์และกฎหมายต่างๆ ลงบนศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก ทำให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้เรื่องราวในสมัยสุโขทัยอย่างละเอียด อักษรไทยนี้ช่วยให้คนไทยมีตัวอักษรของตนเอง สามารถบันทึกภาษา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ได้อย่างชัดเจน

พ่อขุนรามคำแหง พระราชกรณียกิจสำคัญ ด้านเศรษฐกิจและสังคม

ด้านเศรษฐกิจและสังคม

    พระองค์ทรงส่งเสริมการเกษตรและการชลประทาน โดยโปรดให้สร้างทำนบกักเก็บน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส์” เพื่อเก็บน้ำใช้ในฤดูแล้ง และทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยามที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ 

    นอกจากนี้ยังทรงยกเลิกการเก็บภาษีผ่านทาง (จังกอบ) เพื่อเปิดเสรีทางการค้า ส่งเสริมให้ประชาชนค้าขายได้อย่างอิสระและสร้างเตาเผา “เครื่องสังคโลก” จำนวนมากเพื่อผลิตสินค้าเครื่องถ้วยชามส่งออกไปยังดินแดนใกล้เคียง

พ่อขุนรามคำแหง มรดกที่พระองค์ทิ้งไว้

ความสำคัญและมรดกที่พระองค์ทิ้งไว้

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางรากฐานสำคัญของชาติไทยในหลายด้าน ทั้งภาษา ศาสนา การปกครอง และวัฒนธรรม อักษรไทยที่พระองค์ประดิษฐ์ยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน พระพุทธศาสนาเถรวาทที่พระองค์ส่งเสริมก็ยังเป็นศาสนาหลักที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ อีกทั้งยังมีระบบการปกครองที่ยุติธรรมและใส่ใจประชาชนเป็นแบบอย่างที่ดี พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นมหาราช และมีการกำหนดวันที่ 17 มกราคมของทุกปีเป็นวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

 

    เป็นอย่างไรกันบ้าง? หวังว่าหลังอ่านบทความนี้แล้ว น้อง ๆ จะได้รับรู้ถึงพระปรีชาสามารถของ “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” กันมากขึ้นนะ 

    สำหรับใครที่กำลังมองหาที่ติวตัวต่อตัว หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ


   บทความต่อไป TUTOR VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

 

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

 

สนใจเรียนพิเศษประวัติศาสตร์ตัวต่อตัว ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
 
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/
 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save