ลูกติดมือถือ เสี่ยงเป็นเด็กมีปัญหา พัฒนาการถดถอย !!

 

ทำอย่างไร ให้ลูกติดมือถือน้อยลง? โรงเรียนคู่ขนานมีคำตอบค่ะ

.
มือถืออาจทำหน้าที่ในการดูแลเด็ก ๆ ในช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลา แต่การใช้เวลากับมือถือนาน ๆ จะทำให้เด็กไม่สนใจเรื่องอื่น ๆ มันส่งผลร้ายกว่าที่คุณพ่อคุณแม่คิดไว้มากเลยนะคะ ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องของร่างกายหรือจิตใจ
.
ส่งผลให้ลูกเสี่ยงเป็นเด็กสมาธิสั้น เพราะ ไม่สามารถอดทนกับอะไรนาน ๆ ได้ หรือ..
.

อาจกลายเป็นเด็กก้าวร้าว
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตอบสนองไว ทำให้เด็ก ๆ หลายคนมีความอดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย เพราะในโลกความเป็นจริง ไม่ได้ตอบสนองไวเหมือนในมือถือ
.

ขาดการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
ขาดทักษะการสื่อสาร เข้าหาใครไม่เป็น เนื่องจากมือถือเป็นการสื่อสารทางเดียว เด็กจะนั่งดูอย่างเดียว เขาไม่ได้โต้ตอบ จะทำให้สูญเสียเรื่องทักษะของภาษา การออกเสียง การพูด การสื่อสารกับบุคคลอื่นก็จะเสียไป
.
และทำให้เด็ก ๆ #ขาดทักษะที่จำเป็นในอนาคต ซึ่งจะฝึกตอนโตก็ยากแล้ว …

 

.

ถ้าอยากให้ลูกหายขาดจากการติดมือถือ
อย่างแรกคู่ขนานต้องมั่นใจก่อนว่าเด็กมี Self-Esteem การเห็นคุณค่าในตนเอง เพราะถ้าเด็กติดมือถือจนถึงขั้นไม่ทำอะไรเลย แปลว่าเค้าไม่ได้เห็นคุณค่าที่จำทำสิ่งอื่น ถูกไหมคะ
.
จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นการฝึกเด็ก ๆ ให้มีทักษะที่ช่วยให้เค้ารู้จักหน้าที่ของตัวเองและมีความรับผิดชอบมาขึ้น โดยผ่านกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของเค้า ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Problem-based Learning & Project-based Learning
– เรียนรู้การตั้งเป้าหมาย
– ฝึกให้รับผิดชอบเป้าหมายนั้น
– เรียนรู้การวางแผน
– เจอกับความผิดพลาด ฝึกรับมือกับความผิดหวังและทักษะการแก้ปัญหา
– ฝึกให้เกิดความอดทน จนสิ่งนั้นจะสำเร็จ
.
เพื่อให้เด็ก ๆ #มีทักษะที่จำเป็นในอนาคต
– ทักษะการตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)
– ทักษะการยืดหยุ่นทางความคิด (Flexible Thinking)
– ทักษะการควบคุมตนเอง และยอมรับกับความผิดหวัง (Self-Control)
– ทักษะการจัดการเวลา (Time Management)
.
ทักษะที่ดี นั้นเกิดจากการฝึกฝน และต้องใช้เวลาในการทำซ้ำบ่อยๆ ไม่มีทางที่เด็กจะเปลี่ยนตัวเองได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน ไม่มีทางที่เค้าจะทำตามที่พ่อแม่บอกได้ทันที หรือถึงจะทำ ก็ทำเพียงเพราะโดนบังคับ ไม่ใช่เพราะเห็นคุณค่าที่จะทำ
.
การทำแบบนี้ จะทำเด็กเกิด Self-Esteem คือ การเห็นคุณค่าในตนเอง ว่าสิ่งที่เค้าทำมันเกิด Acheivement นะ ได้รับคำชมจากแม่ด้วย เด็กก็จะอยากทำอีกโดยปริยายค่ะ
.
หากคุณพ่อ คุณแม่ มีปัญหา กังวลเรื่องลูก อยากได้คำแนะนำดีๆ
แจ้งปัญหาที่อยากให้เราช่วยไว้ได้เลยค่ะ
คลิก >> แบบฟอร์มลงทะเบียนสำหรับผู้ปกครองที่สนใจโรงเรียนคู่ขนาน
https://forms.gle/suTVN5otzHwiq9VNA
.

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save