รวมสิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบ TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท

รวมสิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบ TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท

 

    สวัสดีน้องๆ ทุกคน เผลอแปปเดียวก็ใกล้ถึงวันสอบ TPAT1 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17 ธันวาคมนี้แล้ว บทความนี้พี่ Tutor VIP จึงอยากมาแนะนำเกี่ยวกับการสอบ TPAT1 ให้น้องๆ ที่สนใจได้เตรียมความพร้อมอย่างถูกจุดเพื่อเพิ่มโอกาสพิชิตคณะในฝันกัน ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จัก TPAT1 กันเลย! 

TPAT1 คืออะไร?

     TPAT1 วิชาเฉพาะกสพท คือ ข้อสอบวัดความถนัดแพทย์ที่กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) ใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาใน 4 คณะ ดังนี้

  • คณะแพทยศาสตร์
  • คณะทันตแพทยศาสตร์
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์


    ซึ่งจะเปิดให้สอบเพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น! โดย TPAT1 เป็น 1 ในวิชาที่ใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในคณะข้างต้น

TPAT1 สอบอะไรบ้าง?

ข้อสอบ TPAT1 แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักได้ ดังนี้

1. การทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ 

    1. ความสามารถในการจับใจความ คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ เชื่อมโยง
    2. ความเป็นเหตุเป็นผล และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

2. การประเมินแนวคิดทางจริยธรรม เน้นในส่วนของกฎหมายและจรรยาบรรณแพทย์

    โดย TPAT1 มีสัดส่วนคะแนนคิดเป็น 30% ของการคัดเลือก กสพท66 อีก 70% จะคิดจาก A-Level 5 วิชาหลัก

*อ้างอิงจากประกาศของ กสพท ฉบับที่1 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565

TPAT1 มีสัดส่วนคะแนนอย่างไร?

สำหรับสัดส่วนคะแนนที่ใช้ใน กสพท66 มี ดังนี้

  • TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท   30%
  • A-Level วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา)   28%
  • A-Level คณิตศาสตร์1 (ประยุกต์)   14% 
  • A-Level ภาษาอังกฤษ   14%
  • A-Level ภาษาไทย       7%
  • A-Level สังคมศึกษา    7%

    ดังนั้น หากน้อง ๆ สมัครสอบ TPAT1 แล้ว จะต้องสมัครสอบ A-Level วิชาข้างต้น เพื่อใช้ในการคัดเลือก กสพท ด้วยน้า

แนวข้อสอบ TPAT1 เป็นอย่างไร?

    สำหรับ TPAT1 ทั้ง 2 ส่วน  จะมีเนื้อหาคล้ายกับข้อสอบ กสพท เดิม เพียงแต่ในปี 2566 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น TPAT1 เท่านั้น เนื้อหาในแต่ละส่วนอ้างอิงจากข้อสอบเก่ามี ดังนี้

 

  • การทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ 

    • ความสามารถในการจับใจความ คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ เชื่อมโยง (ความคิดเชื่อมโยง)

ในส่วนนี้จะเน้นวัดความสามารถในการจับใจความ และความคิดเชื่อมโยง    แนวข้อสอบจะคล้ายกับข้อสอบ GATเชื่อมโยง 

    • ความเป็นเหตุเป็นผล และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (เชาวน์ปัญญา)

ในส่วนนี้จะเน้นวัดความสามารถในการคำนวณ, ตรรกศาสตร์, อนุกรม รวมไปถึงบทความ เพื่อทดสอบความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล

  • การประเมินแนวคิดทางจริยธรรม

เน้นวัดในส่วนของกฎหมายและจรรยาบรรณแพทย์ โดยโจทย์จะเป็นลักษณะของการให้เลือกตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดโดยคำนึงถึงความถูกต้องทางกฎหมาย และจรรยาบรรณแพทย์

คณะไหนที่ต้องใช้ TPAT1 ?

       ในปี 2566 มีจำนวนการเปิดรับนักศึกษาทั้ง 4 คณะผ่านระบบ กสพท ทั้งหมด 2,308 คน แบ่งเป็น

  • คณะแพทยศาสตร์
    • สถาบันที่เข้าร่วม 17 สถาบัน
    • จำนวนที่เปิดรับ 1,141 คน
  • คณะทันตแพทยศาสตร์
    • สถาบันที่เข้าร่วม 12 สถาบัน
    • จำนวนที่เปิดรับ  390 คน
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์
    • สถาบันที่เข้าร่วม 12 สถาบัน
    • จำนวนที่เปิดรับ  287 คน
  • คณะเภสัชศาสตร์
    • สถาบันที่เข้าร่วม 12 สถาบัน
    • จำนวนที่เปิดรับ 490 คน



ดูรายชื่อมหาวิทยาลัยและจำนวนที่รับ เพิ่มเติมได้ที่ คลิก (รายชื่อสถาบัน และจำนวนที่รับจะอยู่ในหน้า 3-6)

 

      หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ และทำให้รู้จักการสอบ TPAT1 ได้มากขึ้นนะ ใครกำลังเตรียมสอบอยู่ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ ส่วนใครกำลังหาที่ติวก็มาปรึกษาพี่ Tutor VIP กันได้เลย ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ:)

   บทความต่อไป Tutor VIP จะมาแนะนำคณะอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

 

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

 

สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว ติวสอบTPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
 
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save