รู้จัก Part of Speech พื้นฐานสำคัญในภาษาอังกฤษ

รู้จัก Part of Speech พื้นฐานสำคัญในภาษาอังกฤษ

     Part of Speech คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรในการเรียนภาษาอังกฤษ บทความนี้มีคำตอบ ตามไปดูด้วยกันเลย!

เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ

Part of Speech คืออะไร

Part of Speech คืออะไร?

     Part of Speech คือ หมวดหมู่ของคำในภาษาศาสตร์ที่ใช้เพื่อแบ่งประเภทและหน้าที่ของคำนั้น ๆ ในประโยค ซึ่งช่วยให้เข้าใจความหมายและสามารถสร้างประโยคที่ถูกต้องได้ 

     ดังนั้น Part of Speech จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการเรียนภาษาอังกฤษ เพราะหากน้อง ๆ เข้าใจเรื่องนี้ได้ดีแล้วก็จะทำให้การเรียนภาษาอังกฤษง่ายขึ้น โดย Part of Speech แบ่งเป็น 8 ประเภท ประกอบด้วย Noun, Pronoun, Verb, Adjective, Adverb, Preposition, Conjunction, และ Interjection ซึ่งแต่ละส่วนจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป

Part of Speech - Noun

Noun คำนาม

    Noun (คำนาม) คือ คำที่ใช้ในการแทนบุคคล, สิ่งของ, สถานที่ หรือความคิด ซึ่งมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งในประโยค คำนามใช้เพื่อระบุชื่อของสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วย 

 

ประเภทของคำนาม (Noun) ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • คำนามชี้เฉพาะ (Proper Noun): เป็นคำนามที่ใช้เพื่อระบุชื่อเฉพาะของบุคคล, สถานที่, หรือสิ่งของ ซึ่งขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ เช่น: “John” (จอห์น), “Bangkok” (กรุงเทพฯ), “Eiffel Tower” (หอไอเฟล) เป็นต้น
  • คำนามทั่วไป (Common Noun): เป็นคำนามที่ใช้เรียกอ้างถึงบุคคล, สถานที่, หรือสิ่งของทั่วไปโดยไม่เจาะจง เช่น: “cat” (แมว), “house” (บ้าน), “book” (หนังสือ) เป็นต้น
  • คำนามนับได้ (Countable Noun): เป็นคำนามที่สามารถนับจำนวนได้ โดยเป็นได้ทั้งเอกพจน์ และพหูพจน์ เช่น: “a book” (หนังสือ 1 เล่ม), “an apple” (แอปเปิ้ล 1 ลูก), “4 dogs” (สุนัข 4 ตัว) เป็นต้น 
  • คำนามนับไม่ได้ (Uncountable Noun): เป็นคำนามที่ไม่สามารถนับหรือระบุจำนวนเป็นตัวเลขได้ เช่น: “water” (น้ำ), “sand” (ทราย), “information” (ข้อมูล) เป็นต้น
  • อาการนาม (Abstract Noun): เป็นคำนามที่ใช้เรียกอ้างถึงความคิดเห็น ความรู้สึก หรือสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เช่น: “love” (รัก), “happiness” (ความสุข), “knowledge” (ความรู้) เป็นต้น
  • คำนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Noun): เป็นคำนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ โดยใช้ “‘s” หรือ “s'” ตามหลังคำนาม ตัวอย่างเช่น: “John’s car” (รถของจอห์น), “the dog’s tail” (หางของสุนัข), “the students’ books” (หนังสือของนักเรียน) เป็นต้น
Part of Speech - Pronoun

Pronoun คำสรรพนาม

    Pronoun (คำสรรพนาม) คือ คำที่ใช้แทนคำนาม บุคคล, สิ่งของ, สถานที่, ความคิด และความสัมพันธ์อื่นๆ ในประโยคที่เคยกล่าวมาแล้ว เพื่อลดความซ้ำซ้อนในประโยค โดยสามารถเป็นได้ทั้งประธานและกรรมในประโยค 

 

ประเภทของคำสรรพนาม (Pronoun) ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • สรรพนามแทนบุคคล (Personal Pronouns): ใช้แทนคน, สัตว์, สิ่งของ เช่น I, You, He, She, It, We, They 
  • สรรพนามเน้นตัวเอง (Reflexive Pronouns): ใช้เน้นย้ำเกี่ยวกับตัวเอง เช่น Myself, Yourself, Himself, Herself, Itself, Ourselves, Yourselves, Themselves 
  • สรรพนามเจ้าของ (Possessive Pronouns): ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น Mine (ของฉัน), Yours (ของคุณ), His (ของเขา), Hers (ของเธอ), Its (ของมัน), Ours (ของเรา), Theirs (ของพวกเขา)
  • สรรพนามชี้เฉพาะ (Definite Pronouns): ใช้แทนคำนามเพื่อแสดงความเจาะจงคน, สัตว์, สิ่งของ, สถานที่ เช่น This (นี้), That (นั้น), These (เหล่านี้), Those (เหล่านั้น)
  • สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ (Indefinite Pronouns): ใช้แทนคำนามทั่วไปโดยไม่เจาะจง เช่น All (ทั้งหมด), Some (บางสิ่ง), None (ไม่มี), Any (ใด ๆ), Everyone (ทุกคน), Everything (ทุกสิ่ง), Nobody (ไม่มีใคร), Somebody (บางคน), Something (บางสิ่ง)
  • สรรพนามคำถาม (Interrogative Pronouns): ใช้แทนคำนามในประโยคคำถาม เช่น Who (ใคร), Whom (ใคร – เป็นกรรม), Whose (ของใคร), Which (อันไหน), What (อะไร)
Part of Speech - Verb

Verb คำกริยา

    Verb (คำกริยา) คือ คำที่ใช้เพื่อแสดงการกระทำ หรือสภาวะของคำนามและคำสรรพนามในประโยค เช่น การทำงาน การเคลื่อนไหว การพูด และอื่น ๆ

 

ประเภทของคำกริยา (Verb) ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • กริยาแสดงการกระทำ (Action Verb): คำกริยาที่ใช้เพื่อแสดงอาการ, การกระทำ หรือกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เช่น Run (วิ่ง), Eat (กิน), Dance (เต้น), Sing (ร้องเพลง) เป็นต้น
  • กริยาที่ใช้แสดงสภาวะหรือสถานะ (State Verb): คำกริยาที่ใช้เพื่อแสดงสภาวะ,ลักษณะ, หรือความรู้สึกโดยไม่จำเป็นต้องมีการกระทำ เช่น Have (มี), Know (รู้), Like (ชอบ), Love (รัก), Believe (เชื่อ) เป็นต้น
  • กริยาช่วย (Modal Verb): คำกริยาที่ใช้ร่วมกับคำกริยาอื่นเพื่อเสริมความในประโยคให้ชัดเจนขึ้น เช่น Can (สามารถ), Will (จะ), Should (ควร), May (อาจ), Must (ต้อง) เป็นต้น 

 

   นอกจากนี้ยังมีคำกริยาในรูปแบบอื่น ๆ เช่น กริยาที่ใช้แสดงการเปรียบเทียบ (Comparative Verbs) และกริยาที่ใช้แสดงเวลา (Time Verbs) เป็นต้น หากน้อง ๆ เข้าใจประเภทของคำกริยาก็จะช่วยให้เข้าใจและใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Part of Speech - Adjective

Adjective คำคุณศัพท์

    Adjective (คำคุณศัพท์) คือ คำที่ใช้ขยายคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อบ่งชี้ลักษณะของคำนามให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

 

ประเภทของคำคุณศัพท์ (Adjective) ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • คำคุณศัพท์บอกลักษณะ (Descriptive Adjectives): ใช้เพื่ออธิบายลักษณะทางภาพของสิ่งต่าง ๆ ที่พูดถึงในประโยค เช่น Big (ใหญ่), Small (เล็ก), Beautiful (สวย),  Bright (สว่าง) เป็นต้น
  • คำคุณศัพท์เปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative Adjectives): ใช้เปรียบเทียบขั้นกว่าระหว่างสองสิ่งที่มีความแตกต่างกัน เช่น Bigger (ใหญ่กว่า), Smaller (เล็กกว่า), More beautiful (สวยกว่า), Darker (มืดกว่า) เป็นต้น
  • คำคุณศัพท์ที่ใช้เปรียบเทียบขั้นสุด (Superlative Adjectives): คำคุณศัพท์ที่ใช้เปรียบเทียบขั้นสุดของคน, สัตว์, สิ่งของ หรือสถานที่ เช่น Biggest (ใหญ่ที่สุด), Smallest (เล็กที่สุด), Most beautiful (สวยที่สุด), Darkest (มืดที่สุด) เป็นต้น
  • คำคุณศัพท์ที่ใช้แสดงความรู้สึก (Emotion Adjectives): ใช้ในการแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น Happy (มีความสุข), Sad (เศร้า), Angry (โกรธ), Excited (ตื่นเต้น), Nervous (กระสับกระส่าย), Relaxed (ผ่อนคลาย) เป็นต้น
  • คำคุณศัพท์บอกลักษณะ (Personality Adjectives): ใช้อธิบายลักษณะหรือนิสัยของบุคคล เช่น Friendly (เป็นมิตร), Shy (อาย), Confident (มั่นใจ), Intelligent (ฉลาด), Creative (สร้างสรรค์) เป็นต้น
  • คำคุณศัพท์บอกปริมาณ (Quantity Adjectives): ใช้เพื่อบ่งชี้ปริมาณหรือจำนวน เช่น Many (มาก), Few (น้อย), Enough (เพียงพอ), Empty (ว่างเปล่า), Light (เบา)
Part of Speech - Adverb

Adverb กริยาวิเศษณ์

    Adverb (กริยาวิเศษณ์) คือ คำที่ใช้ขยายคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ในประโยคเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำของประธานในประโยค

 

ประเภทของกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • กริยาวิเศษณ์บอกลักษณะอาการ (Adverbs of Manner): ใช้แสดงวิธีการกระทำของประธานว่าทำในลักษณะใด เช่น Quickly (อย่างรวดเร็ว), Slowly (อย่างช้า), Carefully (อย่างระมัดระวัง), Loudly (อย่างดัง), Quietly (อย่างเงียบ), Well (อย่างดี) เป็นต้น 
  • กริยาวิเศษณ์บอกเวลา (Adverbs of Time): คำวิเศษณ์ที่ใช้ในการระบุเวลา เช่น Now (ตอนนี้), Then (ตอนนั้น), Today (วันนี้), Tomorrow (พรุ่งนี้), Yesterday (เมื่อวานนี้) เป็นต้น
  • กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ (Adverbs of Frequency): ใช้ในการระบุความถี่ของการกระทำว่าเกิดขึ้นถี่แค่ไหน เช่น Always (เสมอ), Often (บ่อย), Sometimes (บางครั้ง), Rarely (นาน ๆ ครั้ง), Never (ไม่เคย) เป็นต้น
  • กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ (Adverbs of Place): คำวิเศษณ์ที่ใช้ในการระบุที่ตั้ง เช่น Here (ที่นี่), There (ที่นั้น), Back (ด้านหลัง), Around (รอบ ๆ), Nearby (ใกล้เคียง) เป็นต้น
Part of Speech - Preposition

Preposition คำบุพบท

    Preposition (คำบุพบท) คือ คำที่ใช้แสดงทิศทาง, ที่ตั้ง หรือเวลา โดยมักอยู่หน้าคำนามหรือคำสรรพนาม

 

ประเภทของคำบุพบท (Preposition) ที่พบบ่อย ได้แก่

  • คำบุพบทที่เกี่ยวกับตำแหน่ง (Prepositions of Place): ใช้เพื่อระบุตำแหน่งที่ตั้งของคนหรือสิ่งต่าง ๆ เช่น In (ใน), On (บน), Above (เหนือ), Below (ใต้), Behind (ข้างหลัง), In front of (ข้างหน้า), Beside (ข้างๆ), Between (ระหว่าง), Near (ใกล้) เป็นต้น
  • คำบุพบทที่เกี่ยวกับเวลา (Prepositions of Time): ใช้เพื่อระบุช่วงเวลาที่แสดงความสัมพันธ์ของคำนามและส่วนอื่น ๆ ในประโยค เช่น Before (ก่อน), After (หลัง), During (ระหว่าง), By (ภายในระยะเวลา), For (เป็นเวลา), Since (ตั้งแต่) เป็นต้น
  • คำบุพบทบอกทิศทาง (Prepositions of Direction): ใช้เพื่อระบุทิศทางหรือการเคลื่อนที่ เช่น To (ไปยัง), From (จาก), Into (เข้า), Out of (ออกจาก), Towards (ไปทาง), Away from (ห่างจาก), Across (ข้าม) เป็นต้น
  • คำบุพบทบอกความสัมพันธ์ (Prepositions of Relationship): ใช้เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ เช่น With (กับ), Without (ปราศจาก), About (เกี่ยวกับ) เป็นต้น
Part of Speech - Conjunction

Conjunction คำสันธาน

    Conjunction (คำสันธาน) คือ คำที่ใช้เชื่อมคำ, ประโยค หรือวลีเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาต่าง ๆ ในประโยค ทั้งนี้คำสันธานมักอยู่ตรงกลางของประโยค

 

ประเภทของคำสันธาน (Conjunction) ที่พบบ่อย ได้แก่

  • Coordinating Conjunction คือ คำสันธานที่ใช้ในการเชื่อมคำ, ประโยค หรือวลี ที่เป็นประเภทเดียวกัน ประกอบด้วย For (เพราะ), And (และ), Nor (ไม่ทั้งสองอย่าง), But (แต่), Or (หรือ), Yet (แต่), So (ดังนั้น) โดยมักใช้สูตรการจำว่า FANBOYS
  • Subordinating Conjunction คือ คำสันธานที่ใช้ในการเชื่อมประโยคหลัก (Main Clause) เข้ากับประโยคย่อย (Subordinate Clause) โดยจะอยู่ที่หน้าประโยตหรือกลางประโยคก็ได้ เช่น Although (แม้ว่า), Because (เพราะว่า), If (ถ้า), While (ในขณะที่), When (เมื่อ), Where (ที่) เป็นต้น
  • Correlative Conjunction คือ คำสันธานที่ต้องใช้คู่กันเสมอ โดยใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายสอดคล้องกัน เช่น Both… and (ทั้ง…และ), Neither… nor (ไม่… และ [ไม่ทั้งสองอย่าง]), Either… or (ไม่…หรือ [ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง]), Not only… but also (ไม่เพียง…แต่ยัง)  เป็นต้น
Part of Speech - Interjection

Interjection คำอุทาน

   Interjection (คำอุทาน) คือ คำที่ใช้เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ความเสียใจ, ความประหลาดใจ, ความตื่นเต้น หรือความรู้สึกอื่น ๆ เช่น Hurray! (ฮูรเรย์!), Yippee! (ยิปปี้!), Yahoo! (ยาฮู!), Wow! (ว้าว!), What! (อะไรนะ!) เป็นต้น

      หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจเรื่อง Part of Speech ได้ดียิ่งขึ้นนะ

    ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่กำลังมองหาที่ติวภาษาอังกฤษ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ TUTOR VIP ได้นะ พี่ ๆ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ


   บทความต่อไป TUTOR VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

 

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

 

สนใจเรียนพิเศษภาษาอังกฤษตัวต่อตัว ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
 
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/
 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save